Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3128
Title: รูปแบบการสื่อสารในการบริหารจัดการธนาคารขยะชุมชนวัดกลาง ซอยลาดพร้าว 132
Other Titles: Communication patterns of the trash bank management of wat klang community, Ladprao 132
Authors: อริสรา ธนูแผลง, 2521-
Advisors: ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในองค์การ
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก
ชุมชนวัดกลาง (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งและการบริหารจัดการธนาคารขยะชุมชนวัดกลางรวมทั้งศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนที่มีต่อการจัดการธนาคารขยะชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารในการรวมกลุ่มจัดตั้งธนาคารขยะชุมชนวัดกลาง ซอย ลาดพร้าว 132 ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียวแบบไม่เป็นทางการ การสื่อสารสองทางแบบเป็นทางการ และการสื่อสารสองทางแบบไม่เป็นทางการ 2. รูปแบบการสื่อสารในการบริหารจัดการธนาคารขยะชุมชนวัดกลาง ซอย ลาดพร้าว 132 ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียวแบบเป็นทางการ การสื่อสารทางเดียวแบบไม่เป็นทางการ การสื่อสารสองทางแบบเป็นทางการ และการสื่อสารสองทางแบบไม่เป็นทางการ 3. บทบาทของผู้นำชุมชนวัดกลางที่มีต่อการจัดการธนาคารขยะชุมชนวัดกลางแบ่งเป็นบทบาทในระยะก่อตั้งธนาคารขยะ 4 ลักษณะ คือ เป็นผู้รับนวกรรมใหม่เข้ามาในชุมชน เป็นผู้กำหนดแผนการดำเนินงานจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน เป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎระเบียบของธนาคารขยะชุมชนและเป็นผู้เผยแพร่นวกรรมใหม่ให้กับสมาชิกในชุมชนและบทบาทในระยะของการบริหารจัดการธนาคารขยะ 3 ลักษณะ คือ เป็นผู้บริหารงานทั่วไปของธนาคารขยะ เป็นผู้แสวงหาทางออกในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเป็นผู้วางแผนการพัฒนาการดำเนินงานของธนาคารขยะ
Other Abstract: The objectives of this research is to study the communication patterns in forming of a trash bank in Ladprao 132 community and its management. Besides, the roles of the community leaders of the trash bank were also studied by means of qualitative research. The data was collected by means of in-depth interview as key informants. The results are as follows: 1. The communication patterns of forming Trash Bank in Ladprao 132 community can be categorized as follows: 1) informal one way communication, 2) Formal two way communication, 3) Informal two way communication. 2. The communication patterns in managing Trash Bank in Ladprao 132 community consist of 4 patterns which are 1) Formal one way communication, 2) Informal one way communication, 3) Formal two way communication, 4) Informal two way communication. 3. The roles of Wat Klang community leaders towards the management of the trash bank during the establishing period are divided into 1) Introducing innovations in to the community, 2) Identifying the workingprocess of establishing the trash bank, 3) Policy and regulation making of the trash bank, 4) Diffusing the innovations to members of the community. The management roles of the trash bank are 1) Managing the general task of the trash bank, 2) seeking the proper solutions and any problems & obstacles, 3) planning the development of the trash bank operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3128
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.464
ISBN: 9740308635
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.464
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ArisaraTh.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.