Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31296
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ | - |
dc.contributor.author | เสาวลักษณ์ ภู่นภาอำพร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-25T03:00:15Z | - |
dc.date.available | 2013-05-25T03:00:15Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31296 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซแอมโมเนียโดยเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้ตัวกลางผสม เพื่อหาอัตราส่วนตัวกลางที่เหมาะสมในการกำจัดก๊าซแอมโมเนีย โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดของตัวกลางผสม ปุ๋ยหมัก: เศษไม้: ปุ๋ยคอก: ตะกอน จุลินทรีย์ จำนวน 4 ชุดการทดลอง ที่อัตราส่วนต่างกัน ได้แก่ 70:10:10:10, 60:20:10:10, 50:30:10:10 และ 40:40:10:10 การทดลองนี้ทำการแปรผันความเข้มข้นก๊าซแอมโมเนียในช่วง 5 - 200 ส่วนในล้านส่วน และ แปรผันเวลากักพักระบบที่ 30, 45 และ 60 วินาที โดยเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้ในการทดลองเป็นขนาดห้องปฏิบัติการ (Bench-Scale) ทำจากท่ออครีลิค มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.054 เมตร สูง 2 เมตร บรรจุตัวกรองสูง 1.50 เมตร มีจุดเก็บตัวอย่างอากาศ 6 จุด ที่ระดับ 0.25, 0.50, 0.75, 1.00, 1.25 และ 1.50 เมตร เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดที่ความสูงต่างๆ ของเครื่องกรองชีวภาพ ทำการเดินระบบ 8 ชั่วโมงต่อวัน กำหนดอัตราไหลของอากาศแปรผันตั้งแต่ 2.95 – 5.90 ลิตรต่อนาที ผลการทดลองพบว่าตัวกลางผสมปุ๋ยหมัก 60% และ 50% เป็นอัตราส่วนตัวกลางที่เหมาะสม เนื่องจากให้ประสิทธิภาพสูงสุดขณะที่มีค่าความดันลดและการทรุดตัวต่ำ ในการบำบัดก๊าซแอมโมเนียความเข้มข้น 200 ส่วนในล้านส่วน มีประสิทธิภาพการบำบัด 99 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลากักพักระบบ 45 วินาทีใช้ความสูงของตัวกลาง 0.75 เมตร เทียบเท่าเวลาสัมผัสตัวกลาง 22.5 วินาที ค่าความดันลดสูงสุดและการทรุดตัวของตัวกลางอัตราส่วน 70:10:10:10, 60:20:10:10, 50:30:10:10 และ 40:40:10:10 เท่ากับ 18, 11, 11, 9 มิลลิเมตรน้ำ และ 5, 7.5, 11, 24 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อใช้ระยะเวลาในการเดินระบบ 86 วัน | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study ammonia removal efficiency using composite media biofilter by comparing 4 different media compositions of compost: wood chips: manure: sludge at ratio of 70:10:10:10, 60:20:10:10, 50:30:10:10 and 40:40:10:10 by volume. The experiment varied ammonia concentration from 5 to 200 ppm and the empty bed residence time at 30, 45 and 60 seconds. The bench-scale biofilter was made of acrylic column with an internal diameter of 0.054 m, height 2 m and media depth of 1.50 m. The biofilter column had 6 sampling ports at 0.25, 0.50, 0.75, 1.00, 1.25 and 1.50 m for comparing the removal efficiency of various heights. The biofilters were run for 8 hours per day and varied flow rate at 2.95 - 5.90 liter per minute. This result showed that the biofilters with compost content of 60% and 50% were most suitable due to higher efficiency while retaining low pressure loss and low bed compaction. The selected biofilters treating ammonia concentration of 200 ppm could achieve the removal efficiency of 99% with empty bed residence time of 45 seconds at media depth of 0.75 meter which is equivalent to media contact time of only 22.5 seconds. The biofilter having compost content of 70%, 60%, 50% and 40% had the maximum pressure drop of 18, 11, 11 and 9 mmH₂O and media compactions of 5, 7.5, 11 and 24 centimeters, respectively, after the system was in operation for 86 days | en |
dc.format.extent | 10668939 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.809 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แอมโมเนีย -- การย่อยสลายทางชีวภาพ | en |
dc.subject | การจัดการคุณภาพอากาศ | en |
dc.subject | อากาศ -- การทำให้บริสุทธิ์ | en |
dc.title | ประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซแอมโมเนียโดยเครื่องกรองชีวภาพ | en |
dc.title.alternative | Efficiency of ammonia removal by biofilter | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wongpun.L@eng.chula.ac.th, Wongpun.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.809 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saowalak_pu.pdf | 10.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.