Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31297
Title: ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างต่างกันบนเว็บด้วยกระดานสนทนา ที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีบุคลิกภาพต่างกัน
Other Titles: Effects of different structures of cooperative learning on webboard discussion upon critical thinking of eleventh grade students with different types of personality
Authors: เสาวลักษณ์ รัตนชูวงศ์
Advisors: สุวิมล วัชราภัย
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suvimol.V@Chula.ac.th
Praweenya.S@Chula.ac.th, praweenya@yahoo.com
Subjects: ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างต่างกันบนเว็บด้วยกระดานสนทนาที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีบุคลิกภาพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม จ.เชียงราย จำนวน 58 คน แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างมากบนเว็บ 15 คน 2. กลุ่มนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างน้อยบนเว็บ 14 คน 3. กลุ่มนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างมากบนเว็บ 15 คน 4. กลุ่มนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างน้อยบนเว็บ 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอนนิสและมิลแมน (Cornell Critical thinking Test Level X) , แบบประเมินข้อความการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ (Greenlaw and DeLoach Taxonomy of Critical Thinking) , แบบทดสอบบุคลิกภาพ The Maudsley Personality Inventory (MPI) , เว็บการเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างต่างกัน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง Two-Way ANOVA และ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม Two-Way MANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างมากด้วยกระดานสนทนาบนเว็บมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างน้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวเรียนด้วยกระดานสนทนาบนเว็บมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างต่างกันและบุคลิกภาพของนักเรียนที่ต่างกันด้วยกระดานสนทนาบนเว็บที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4. การแสดงความคิดเห็นรายครั้งของนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างมากด้วยกระดานสนทนาบนเว็บมีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. การแสดงความคิดเห็นรายครั้งของนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวที่เรียนแบบร่วมมือด้วยกระดานสนทนาบนเว็บมีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวในครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 ของการแสดงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการแสดงความคิดเห็นรายครั้งของการเรียนแบบร่วมมือที่มีโครงสร้างต่างกันและบุคลิกภาพที่ต่างกันของนักเรียนที่เรียนด้วยกระดานสนทนาบนเว็บที่มีต่อระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Other Abstract: The purpose of this research was to study effects of different structures of cooperative learning on webboard discussion upon critical thinking of eleventh grade students with different types of personality. The subjects were 58 students, eleventh grade of Machanwittayakom school at academic year 2008: which were devided into four experimental groups of 15 members each: 1> Extrovert students studying from high-structure of cooperative learning, 2> Extrovert students studying from low-structure of cooperative learning, 3> Introvert students studying from high-structure of cooperative learning, and 4>Introvert students studying from low-structure of cooperative learning. The instruments were Cornell Critical thinking Test Level X , The Maudsley Personality Inventory (MPI), Greenlaw and DeLoach Taxonomy of Critical Thinking and Web-Based Instruction with different structures of cooperative learning. Two-Way Analysis of Variance (Two-Way ANOVA) and Multivariate Analysis of Variance (Two-way MANOVA) were utilized for statistical analysis. The research findings were as follows: 1. The critical thinking of students who participated in high-structured cooperative learning on the web was higher than of students who participated in low-structured cooperative learning with the statistically significant at .05. 2. The level of critical thinking of introverted students was higher than extroverted students with the statistical significance at .05. 3. There was no interaction between types of personality and structures of cooperative learning on webboard discussion upon critical thinking of eleventh grade students. 4. The level of critical thinking of students who participated in high-structured cooperative learning on the web was higher than of students who participated in low-structured cooperative learning with the statistically significant at .05. 5. The level of critical thinking of introverted students was higher than extroverted students with the statistical significance at .05 in discussion 4 and 5. 6. There was no interaction between types of personality and structures of cooperative learning on webboard discussion upon level of critical thinking of eleventh grade students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31297
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.590
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.590
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowaluk_ra.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.