Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31549
Title: ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพของถ่านหินอัดก้อน
Other Titles: Variables affecting coal briquette quality
Authors: อรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย
Advisors: สมชาย โอสุวรรณ
กัญจนา บุณยเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติที่พบมากในประเทศไทย และเริ่มนิยมใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ในการทำเหมืองจะมีเศษถ่านหินเหลือทิ้งประมาณร้อยละ 35 จึงสนใจนำมาศึกษาการทำถ่านหินอัดก้อน โดยใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสานและอัดก้อนด้วยเครื่องอัดก้อนแบบ Double Ring Roll ได้ถ่านหินอัดก้อนรูปไข่ (ovoid) น้ำหนักประมาณ 15-20 กรัมต่อก้อน ศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพของถ่านหินอัดก้อน คือ ขนาดของถ่านหิน ปริมาณดินเหนียว ปริมาณปูนขาว เพื่อกำจัดซัลเฟอร์ออกไซด์และกลิ่นที่เกิดจากการเผาไหม้และคุณภาพของถ่านหิน โดยใช้ถ่านหินจากแหล่งบ้านปู จังหวัดลำพูน จากการทดลองพบว่า ถ่านหินขนาดเล็กให้ถ่านหินอัดก้อนที่แข็งแรงกว่าถ่านหินขนาดใหญ่ ขนาดถ่านหินที่เหมาะสมคือ ขนาดรวมทุกช่วงขนาดที่ได้จากการนำถ่านหินไปบดด้วยเครื่อง Hammer Mill ที่มีตะแกรงขนาด 9.5 มม. ซึ่งถูกใช้ในการทดลองขั้นต่อไป ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการผลิต ปริมาณดินเหนียวที่ใช้ขึ้นกับคุณภาพของถ่านหินและคุณภาพของถ่านหินอัดก้อนที่ต้องการ เมื่อเพิ่มปริมาณดินเหนียว ความแข็งแรงของถ่านหินอัดก้อนจะสูงขึ้น ปริมาณปูนขาวที่เหมาะสมคิดเป็นอัตราส่วนโดยโมลของ CaO/S เท่ากับ 1.5-3 นอกจากนี้ยังพบว่า ถ่านหินที่มีเถ้าในช่วงร้อยละ 15-30 ของน้ำหนักถ่านหินแห้งสามารถนำมาอัดก้อนได้ โดยใช้ส่วนผสมแตกต่างกันไป เมื่อนำถ่านหินอัดก้อนมาทดสอบการนำไปใช้งานกับเตาอั้งโล่ที่ใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง พบว่า ประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานของถ่านหินอัดก้อนประมาณร้อยละ 28-30 ซึ่งใกล้เคียงกับถ่านไม้ คือประมาณร้อยละ 29 และถ่านหินอัดก้อนที่ได้สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 2-6 กิโลกรัม เมื่อทำการทดสอบกับถ่านหินแหล่งอื่น ๆ สามารถสรุปได้ว่าถ่านหินจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีเถ้าในช่วงร้อยละ 15-30 ของน้ำหนักถ่านหินแห้ง สามารถนำมาอัดก้อนได้ โดยใช้ส่วนผสมที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ถ่านหินอัดก้อนที่มีคุณภาพดี ทั้งในด้านการเผาไหม้ ความแข็งแรง และความสะดวกในการขนย้าย
Other Abstract: Coal is abundant in Thailand and is being more widely used in industry. In mining, about 35% of coal produced is left as coal fines. It is then of interest to produce coal briquettes by kneading coal fines with clay as binder and molding the kneaded blend in a double roll press. The shape of the briquette was described as ovoid, being about 15 to 20 gram per piece. The studied variables that affected coal briquette quality were particle size of coal fines, amount of clay added, amount of lime added to get rid of sulfur oxide and odor from combustion, and types of coal fines used by using coal from Banpu mine at Lumpune. From experiment, the strength of coal briquettes produced from small coal particles were greater than the strength of that produced from larger coal particles. For practical reason, coal particles obtained by milling in a hammer mill with a 9.5 mm. diameter aperture screen were used in later stages of experiment. The suitable amount of clay used depended on particular type of coal particles and coal briquette quality required. The strength of coal briquette increased when the amount of clay increased. The suitable amount of lime was equivalent to Cao/S mole ratio between 1.5 and 3.0. Coal particles which had about 15 to 30% ash content could be briquetted, employing differing proportions of clay and lime. Combustion performance test of coal briquettes was done in a conventional bucket type stove using wood charcoal as reference fuel. It was found that efficiencies were in the range of 28 to 30%, comparing with 29% of wood charcoal. Coal briquettes could stand for 2 to 6 kg weight during compression test. Additional tests on other types of coal and lignite led to the conclusion that coal and lignite with about 15 to 30% ash could be briquetted, by adjusting the amount of clay and lime to produce coal briquette having acceptable quality, in view of strength and combustion performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31549
ISBN: 9745671177
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunratt_wu_front.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_ch1.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_ch2.pdf13.49 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_ch3.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_ch4.pdf10.34 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_ch5.pdf12.84 MBAdobe PDFView/Open
Arunratt_wu_back.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.