Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32056
Title: กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีต่อสมาชิก : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Group of Production Gredit, its Economic and Political Effect to the Group Member : A Case Study of Tambol Khuamung, Amphoe Sarapee, Chiang Mai
Authors: พีรศักดิ์ นนทะเปารยะ
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงบทบาทของสถาบันเกษตรกรในประเทศไทยที่มีผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจมุ่งพิจารณาในขอบเขตของการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางฐานะเศรษฐกิจแก่สมาชิกเป็นสำคัญ และในแง่ผลกระทบทางการเมือง มุ่งพิจารณาในขอบเขตของการปลูกฝังทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยแก่สมาชิกเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ประชากรตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แยกเป็น 2 ส่วนคือ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ส่วนหนึ่ง จำนวน 237 คน และราษฎรในตำบลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง จำนวน 244 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota) โดยคำนึงถึงจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้านเป็นเกณฑ์ การวิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์ตามบ้านเรือนราษฎร โดยอาศัยแบบสอบถามเป็นแนวทาง แล้วทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ เช่นการหาความถี่ร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต การเปรียบเทียบค่าฟาย (PHI) การวิเคราะห์แบบ T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล (Analysis of variance) จากการวิจัยปรากฏผลดังนี้ ก. ด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีส่วนช่วยให้คนชนบทมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเป็นที่น่าสังเกต โดยพบว่า 1. การเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีส่วนสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางฐานะเศรษฐกิจของบุคคล กล่าวคือ มีความแตกต่างกันในเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางฐานะเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ กับผู้มิใช่สมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสมาชิกมีฐานะเศรษฐกิจดีขึ้นในอัตราสูงกว่าผู้มิใช่สมาชิกอย่างเป็นที่น่าสังเกต 2. การมีฐานะเศรษฐกิจดีขึ้นของสมาชิก เป็นผลจากการได้รับบริการ ด้านสินเชื่อเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่บริการด้านการรับฝากเงิน การได้รับเงินปันผลและการส่งเสริมทางการเกษตรตามลำดับ ข. ด้านผลกระทบทางการเมือง พบว่า การเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ช่วยให้สมาชิกมีความคุ้นเคยกับวิธีการปฏิบัติแบบประชาธิปไตยหลายประการ ได้แก่ การรับสมาชิกโดยความสมัครใจ การคัดเลือกกรรมการโดยวิถีทางของการเลือกตั้ง การเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจโดยใช้มติเสียงข้างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลที่มีต่อความรู้สึกนึกคิดของสมาชิก ปรากฏว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตยังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะช่วยให้สมาชิกมีทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยได้โดยไม่พบถึงความแตกต่างกันในเรื่องการมีทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยระหว่างสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์กับผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The main purpose of this research is to study the economic and political impact upon being members of the Group Production Credit which will provide a means to understand the role in economic and political development of the farmer organization in Thailand. On economic impact, this research focuses on the improvement of the group member’s economic status while on the aspect of political impact it will focus on the political socialization of the group members In this research, the samples, based on population of tambol Khuamung, Amphur Saraphee Changwad Chiengmai, are devided into 2 groups, the members of the Group of Production Credit of 237 people and the non-members of 244 people. The method of sampling used in this study is a “Quota” taken from number of the population in each village. The method of collection data is based on interviewing with questionnaire. Percentage, Mean, PHI analysis, T-Test and Amalysis of Variance have been employed in data analysis The study produces the following results: a) On aspect of economic impact, it is found out that the Group of Production Credit (G.F.C) can upgrade its members’ standard of living noticeably, in the following way: 1. The membership of GPC. Relates to people’s economic-status change. The GPC members and the non-GPC members’ economic-status change are different at 0.05 level of statistical significance; that is the group members’ economic status in improved noticeably at higher rate when compared with the others. 2. Receiving of credit service is the most important factor to improve the GPC. Member’s economic status ; while other factors are saving service, saving interests and agricultural advice, respectively. b. On aspect of political inpact, it is found out that the GPC. Membership helps the member to be accustomed to some democratic practices such as admitting members by voluntary means, electing members to the committees, opportunity of free discussions, and taking decision by majority rule. However, on the aspect of the effect to the member’s attitude, the GPC. Cannot cultivate democratic attitude among its members efficiently. This is showed by the indifference of democratic attitude between the CPC. Members and the non-GPC. Members at 0.05 level of statistical significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32056
ISBN: 9745641855
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerasak_no_front.pdf9.76 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch1.pdf10.58 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch2.pdf19.6 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch3.pdf20.71 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch4.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch5.pdf53.13 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_ch6.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_no_back.pdf16.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.