Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32079
Title: ประวัติความเป็นมาและการขยายตัวการค้าของชาวจีนในกรุงเทพมหานคร ระหว่าง พ.ศ.2398-2475
Other Titles: The history and the expansion of Chinese trade in Bangkok Metropolis 1855-1932
Authors: พูนเกศ จันทกานนท์
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความเป็นมาและการขยายตัวทางการค้าของชาวจีนในกรุงเทพ ตั้งแต่ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 บทคือ บทที่ 1 การอพยพของชาวจีนที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ก่อนและหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง ลักษณะและวิธีการในการทำการค้าตลอดจนแหล่งทำการค้าและการขยายตัวทางการค้าของชาวจีนในกรุงเทพฯ บทที่ 2 กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้การค้าของชาวจีนในกรุงเทพฯ ขยายตัว บทที่ 3 เป็นการศึกษาบทบาทที่สำคัญของพ่อค้าชาวจีนในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2398-2475 ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และบทที่ 4 กล่าวถึงผลกระทบของการขยายตัวทางด้านการค้าของชาวจีนในกรุงเทพฯ ในช่วงนั้นผลของการศึกษาพบว่า ชาวจีนได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในกรุงเทพฯ บริเวณสำเพ็งเป็นแห่งแรกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญในกรุงเทพฯ นับตั้งแต่สมัยก่อนสนธิสัญญาเบาริ่งเรื่อยมาควบคู่ไปกับการค้าตามเรือนแพริมน้ำ และเมื่อมีการปรับปรุงบ้านเมืองภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่งทำให้มีการตัดถนนมากมาย การค้าทางน้ำก็ลดบทบาทความสำคัญลงไป เปลี่ยนเป็นการค้าที่ขยายตัวไปตาม 2 ฟากถนนที่ตัดผ่าน ซึ่งการขยายตัวทางการค้าของชาวจีนในกรุงเทพฯนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านเศรษฐกิจนั้นคือ เกิดการแข่งขันระหว่างพ่อค้าชาวจีนและชาวตะวันตก ซึ่งชาวจีนมีข้อเสียเปรียบชาวตะวันตกในเรื่องการขาดแคลนเงินทุนและข้อจำกัดในการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวจีนของรัฐบาลไทย ทำให้กิจการการค้าระดับใหญ่ของชาวจีนมีอุปสรรคยากที่จะเอาชนะการผูกขาดของบริษัทชาวตะวันตกได้แต่อย่างไรก็ดี การขยายตัวทางการค้าของชาวจีนในกรุงเทพฯ ก็นำมาซึ่งรายได้ของรัฐเป็นจำนวนมาก เช่น การเก็บภาษีโรงร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตสำเพ็งด้านกำแพงพระนคร ที่มีชาวจีนเข้าไปประกอบการค้ามาก ก็สามารถเก็บภาษีโรงร้านได้มากที่สุด และพระคลังข้างที่ได้ผลพลอยได้จากการเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่และได้ลงทุนสร้างตึกแถวซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีนจะเป็นผู้เข้ามาเช่าทำการค้าซึ่งการลงทุนของพระคลังข้างที่ก็มีส่วนทำให้การค้าแบบตึกแถวขยายตัวเร็วขึ้น ส่วนผลกระทบทางด้านสังคมต่อกรุงเทพฯนั้น ก็คือก่อให้เกิดการขยายชุมชนเมืองกรุงเทพฯ กล่าวคือ ตาม 2 ฟากถนนเต็มไปด้วยตึกแถวที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าและชาวจีนได้เข้าไปประกอบอาชีพค้าขายตาม 2 ฟากถนน ทำให้กลายเป็นเมืองการค้า นอกจากนี้ยังทำให้สภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯเปลี่ยนไป กล่าวคือ เกิดปัญหาความแออัดขึ้นในชุมชนชาวจีนและการรื้อกำแพงพระนครเพื่อขยายพื้นที่ในเขตกำแพงพระนครให้กว้างขึ้น เพื่อปลูกตึกแถวรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าในกรุงเทพฯ
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the history and the expansion of trade of the Chinese in Bangkok from the 1855 Bowring Treaty with great Britain until the 1932 Revolution. The study is divided into 4 parts : Part 1 concerns the Chinese immigrations into Siam before and after the Bowring Treaty. The patterns, methods, locations and expansion of their trade in Bangkok are also discussed. Part 2 concerns the factors that encouraged their trade expansion.Part 3 concerns the major economic, social and political roles assumed by Chinese merchants during 1855 to 1932. Part 4 concerns the effects of the Chinese trade expansion in Bangkok during that period. The results show the Chinese first came to settle down and ran their business in Bangkok at Sampheng, which later became one of the important trading centers beginning before the treaty. They also did their business on rafts. After the implementation of the treaty, many roads were cut, resulting in a less important role for river trade. The trade was expanded along both sides of the roads instead. In addition the Chinese trade expansion in Bangkok affected the economy and society of Siam. On the economic side, it was found that there was competition between the Chinese and the Western merchants. The Chinese merchants had fewer advantages than the Westermers because they lacked capital and because the limitation of help given to them by the Siamese government hindered their high-level trading. These factors prevented their businesses from overcoming the Western trading monopolies. However, Chinese trading provided a lot of revenue for the government, for example from building tacation, especially in Sampheng and also in places around Bangkok where the Chinese did their business. The comptroller of Royal Treasury also gained some benefits from them because he owned most of the land where the Chinese lived and he built shop-houses which mostly Chinese rented to do their business. What the comptroller did helped encourage the expansion of shop-house trading. On the social side, it was found that there was an expansion of communities. Since the shop-houses were built along both sides of the roads, the Chinese went to do their business there, so these communities became trading areas. Besides, city limits of Bangkok were expanded because of the congestion caused by the Chinese community and the tearing down of the city wall in order to enlarge the city area for the trade needs.
Description: วิทยานิพนธ์--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32079
ISBN: 9745642614
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonket_ch_front.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open
Poonket_ch_ch1.pdf16.14 MBAdobe PDFView/Open
Poonket_ch_ch2.pdf22.06 MBAdobe PDFView/Open
Poonket_ch_ch3.pdf27.93 MBAdobe PDFView/Open
Poonket_ch_back.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.