Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32083
Title: การพัฒนาการเข้ารหัสเสียงพูดแบบ LD-CELP ที่อัตรา 16 กิโลบิตต่อวินาทีสำหรับการทำงานตามเวลาจริงโดยใช้ TMS320C50
Other Titles: Development of the LD-CELP speech coder at 16 kbps for real-time implementation using TMS320C50
Authors: พูนลาภ ลามศรีจันทร์
Advisors: สุวิทย์ นาคพีระยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการสร้างตัวเข้ารหัสเสียงพูดที่อัตรา 16 กิโลบิตต่อวินาทีสำหรับการทำงานตามเวลาจริง โดยใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอลแบบจุดตรึงรุ่น TMS320C50 เพื่อทำงานตามมาตรฐาน G.728 ของ ITU-T มาตรฐานการเข้ารหัสเสียง G.728 ใช้หลักการของ LD-CELP ร่วมกับการวิเคราะห์โดยการสังเคราะห์ การทำนายและการปรับเปลี่ยนค่าแบบย้อนหลัง การควอนไตซ์แบบเวกเตอร์ และโพสต์ฟิลเตอร์ ในชั้นแรกเป็นการพัฒนาโปรแกรมจำลองการทำงานระดับสูงโดยใช้ MATLAB บนไมโครคอมพิวเตอร์ การจำลองการทำงานนี้ใช้การคำนวณแบบจุดลอยซึ่งจะใช้เป็นโมเดลอ้างอิงสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดและประเมินคุณภาพของการทำงานแบบจุดตรึง ในขั้นต่อไปเป็นการเขียนโปรแกรมทำงานแบบจุดตรึงด้วยภาษาแอสเซมบลีของ TMS320C50 ซึ่งสามารถตรวจสอบการทำงานได้ด้วยโปรแกรมซิมูเลเตอร์บนเอ็มเอสดอส หรือทดสอบการทำงานตามเวลาจริงบนบอร์ด DSK ของ TMS320C50 ที่มีวงจรเชื่อมต่อสัญญาณอนาลอกอยู่ในตัวเองแล้ว ผลของตัวอย่างเสียงที่ผ่านการเข้ารหัสตามเวลาจริงจะถูกประเมินคุณภาพและเปรียบเทียบกับผลของการเข้ารหัสแบบจุดลอยจาก MATLAB ค่า SNR จากการเข้ารหัสแบบจุดลอยมีค่าในช่วง 17-27 เดซิเบลและจากการเข้ารหัสแบบจุดตรึงจะมีค่าต่ำลงไปประมาณ 2 เดซิเบลโดยเฉลี่ย
Other Abstract: The objective of this study is to implement real-time speech coder at 16 kbps. The implementation uses TMS320C50 fixed-point DSP chip and follows the ITU-T recommendation G.728. Recommendation G.728 is based on Low-delay Code-excited Linear Prediction (LD-CELP) technic together with analysis-by-synthesis, backward prediction and adaptation, vector quantization and postifilter. The first step is to develop high level simulation program using MATLAB on microcomputer. This is a floating-point implementation which is used as a reference model for debugging and evaluating the fixed-point version. Next, the fixed-point assembly program for TMS320C50 can be debugged either by using MS-DOS based simulator or real-time testing on TMS320C50 DSK board which has built-in analog interface circuit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32083
ISBN: 9746349376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonlap_la_front.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch2.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch4.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch5.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_ch6.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Poonlap_la_back.pdf16.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.