Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32107
Title: | ผลของการคุกคามจากภาพในความคิด การเห็นคุณค่าในตนเอง และรูปแบบการอนุมานสาเหตุต่อผลงานด้านคณิตศาสตร์ในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Effects of stereotype threat, self-esteem, and attributional style on mathematics performance of female high school students |
Authors: | ธนรักษ์ คุณศรีรักษ์สกุล |
Advisors: | ธีระพร อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Theeraporn.U@chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนหญิงมัธยมปลาย -- จิตวิทยา ภาพพจน์ (จิตวิทยาสังคม) ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ความนับถือตนเองในวัยรุ่น การอนุมานสาเหตุ (จิตวิทยาสังคม) High school girls -- Psychology Stereotypes (Social psychology) Mathematical ability Self-esteem in adolescence Attribution (Social psychology) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการคุกคามจากภาพในความคิด การเห็นคุณค่าในตนเอง และรูปแบบการอนุมานสาเหตุ ต่อผลงานด้านคณิตศาสตร์ในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการทดลองประกอบด้วย นักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 167 คน แยกได้ 8 เงื่อนไข คือ ภาพในความคิด 2 แบบ (ถูกคุกคามจากภาพในความคิด หรือไม่ถูกคุกคามจากภาพในความคิด) x การเห็นคุณค่าในตนเอง 2 แบบ (เห็นคุณค่าในตนเองสูง หรือเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ x รูปแบบการอนุมานสาเหตุ 2 แบบ (แบบมองโลกในแง่ดี หรือแบบมองโลกในแง่ร้าย) จากนั้นจึงให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง ทำแบบทดสอบทางด้านคณิตศาสตร์ตามเงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง คือ ภาพในความคิด 2 แบบ (ถูกคุกคามจากภาพในความคิด หรือไม่ถูกคุกคามจากภาพในความคิด) x รูปแบบการอนุมานสาเหตุ 2 แบบ (แบบมองโลกในแง่ดี หรือแบบมองโลกในแง่ร้าย) x การเห็นคุณค่าในตนเอง 2 แบบ (เห็นคุณค่าในตนเองสูง หรือเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ) พบว่า ผลหลักของภาพในความคิด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [F(1,159) = 4.71, p < .05] คือ นักเรียนในเงื่อนไขถูกคุกคามจากภาพในความคิดมีคะแนนความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ที่ (M = 8.01, SD = 5.99) น้อยกว่านักเรียนในเงื่อนไขไม่ถูกคุกคามจากภาพในความคิดมีคะแนนความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ที่ (M = 10.18, SD = 5.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลหลักของการเห็นคุณค่าในตนเอง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [F(1,159) = 18.91, p < .001] คือ นักเรียนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำมีคะแนนความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ที่ (M = 7.37, SD = 5.41) น้อยกว่านักเรียนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงมีคะแนนความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ที่ (M = 11.10, SD = 6.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ผลหลักของรูปแบบการอนุมานสาเหตุ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ [F(1,159) = 0.05, ns] และปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ภาพในความคิด กับ การเห็นคุณค่าในตนเอง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [F(1,159) = 8.88, p < .001] |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the effects of self-esteem, attributional style, and stereotype threat on mathematics performance of female high school students. Participants were 167 female high school students from a large government school in Bangkok who were assigned into one of eight conditions of the 2 x 2 x 2 factor design: 2 stereotype conditions (threat vs. no threat) x 2 self-esteem conditions (high vs. low) x 2 attributional style conditions (optimism vs. pessimism). Mathematics performance was assessed by using a mathematics test. The results are as follows: From 3 way analysis of variance: 2 stereotype conditions (threat vs. no threat) x 2 self-esteem conditions (high vs. low) x 2 attributional style conditions (optimism vs. pessimism), there is statistically significant main effect of stereotype threat [F(1,159) = 4.71, p < .05] in which students in the stereotype threat condition have significantly lower mathematics performance (M = 8.01, SD = 5.99) than students in the no stereotype threat condition (M = 10.18, SD = 5.89)(p < .05). The main effect of self-esteem is statistically significant at .001 [F(1,159) = 18.91, p < .001] in which students in the low self-esteem condition have significantly lower mathematics performance (M = 7.37, SD = 5.41) than students in the high self-esteem condition (M = 11.10, SD = 6.08) p < .001. The main effect of attributional style is not statistically significant [F(1,159) = 0.05, ns]. Interaction between stereotype threat and self-esteem is statistically significant at .001 [F(1,159) = 8.88, p < .001]. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาประยุกต์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32107 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.325 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.325 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanarak_kh.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.