Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32181
Title: อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี
Other Titles: Effects of reflection process on the effectiveness of classroom action research: mixed methods research
Authors: ลำพอง กลมกูล
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Critical thinking
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสะท้อนคิดและการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจากกรณีศึกษาที่ดี 3) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่แสดงอิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีตัวแปรส่งผ่าน และ 4) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น และศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดล วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงเรียนและครูจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ใช้การเลือกแบบเจาะจงได้โรงเรียน 4 โรงเรียน และครู 7 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้การสุ่มสองขั้นตอนได้โรงเรียน 24 โรงเรียน และครู 720 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์แบบลึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลแบบมีตัวแปรส่งผ่าน และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการสะท้อนคิดที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมี 6 ขั้นตอน รู้ว่าทำอะไร – แก้ไขและปรับเปลี่ยน – เรียนรู้จากการทำ – นำสู่ความเข้าใจใหม่ – คิดให้เป็นนวัตกรรม – และทดลองทำตามที่คิด ปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิด ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะนักวิจัย ปัจจัยพื้นฐานการสะท้อนคิด ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านงานการสะท้อนคิด ส่วนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย ก) การวางแผนอย่างชัดเจน ข) การปฏิบัติการวิจัยอย่างมั่นใจ ค) การสะท้อนผลการวิจัยกับผู้อื่น ง) การมีนิสัยที่เอื้อต่อการวิจัย และ จ) การมีความรู้ในการวิจัยเป็นอย่างดี 2) ผลการศึกษาจากกรณีศึกษาที่ดี พบว่า อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีทั้งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมส่งผ่านผลลัพธ์จากการสะท้อนคิด ซึ่งวัดได้จากความรู้ความเข้าใจกระบวนการทำวิจัย การยอมรับกระบวนการสะท้อนคิด และทัศนคติต่อการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรภายนอกแฝง 4 ตัวแปร ตัวแปรภายในแฝง 3 ตัวแปร โดยมีตัวแปรผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลจากกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 4) ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนา โมเดล 1 และ 2 เมื่อไม่มีและมีการควบคุมตัวแปรปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิดเปรียบเทียบกัน แม้ว่าทั้ง 2 โมเดลมีความตรงเท่าเทียมกัน แต่ขนาดอิทธิพลค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งกรรมการสอบเห็นว่าโมเดลที่ 2 อาจจะมีปัญหาภาวะร่วมเส้นตรงพหุ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงปรับเป็นโมเดลที่ 3 โดยรวมองค์ประกอบของปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิด ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า โมเดลที่ 3 มีความตรงเท่าเทียมกับ 2 โมเดลแรก และมีขนาดอิทธิพลใกล้เคียงกับโมเดลที่ 1 ในที่นี้ผู้วิจัยจึงเสนอผลการวิเคราะห์โมเดลที่ 1 และ 3 ได้ค่าไค-สแควร์ = 37.91 และ 221.41; df = 31 และ 193; p = .183 และ .079; GFI = .991 และ .979; AGFI = .978 และ .953 อธิบายความแปรปรวนของผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดได้ร้อยละ 43.4 และ 40.4 และประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ร้อยละ 84.7 และ 88.2 ตามลำดับ และอิทธิพลจากกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง = .076 และ .109 และอิทธิพลทางอ้อม = .572 และ .725 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the good practice of the reflection process and classroom action research, 2) to study the effects of the reflection process on the effectiveness of classroom action research from the selected good cases, 3) to develop the causal model displaying the effects of the reflection process on the effectiveness of classroom action research with a mediator, and 4) to validate the developed causal model and study the direct and indirect effects between variables in the model. The research method was the mixed method research using the quantitative research to extend the qualitative research results. The sample consisted of schools and teacher researchers from the schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 using purposive sampling to obtain 4 schools and 7 teachers for qualitative research, and two-stage random sampling to obtain 24 schools and 720 teachers for quantitative research. The research instruments were in-depth interview schedule and questionnaire. Data analysis consisted of content analysis and analytic of induction for qualitative data, and descriptive statistics, correlation analysis using SPSS, validation analysis of the causal model with mediator and the analysis of direct and indirect effects using LISREL, for quantitative data. The research results were as follows: 1) The good practice of reflection process consisted of 6 steps. They were: knowing what to do – correcting and changing – learning from doing – leading to new understanding – thinking of innovating – acting from reflection. The factors affecting reflection were researcher characteristics factor, grounded factor in reflection, environment factor, and reflection task factor. The good practice of classroom action research consisted of a) clearly planning b) confidently doing research c) reflecting the research results with others d) supporting habits towards research and e) having good knowledge of research. 2) The study of selected good cases indicated that the effects of the reflection process on the effectiveness of classroom action research were direct and indirect effects mediated through reflection outcome, measuring from knowledge on research process, acceptance of reflection process, and attitude towards learning from reflections. 3) The developed model consisted of 4 exogenous latent variables and 3 endogenous latent variables with reflection outcome as a mediator, mediating the effects of the reflection process on the effectiveness of classroom action research. And 4) a comparative analysis of model 1 and 2, without and with controlling four factors supporting reflection, in spite of equivalent validity, revealed different effect sizes, the cause of which might be due to multi-collinearity problem as suggested by the oral examination committee. The researcher, therefore, modified model 3 with the combined factor supporting reflection, which indicated validity equivalent to the first two models with similar effects with model 1. Results of model 1 and 3 analysis showed that chi-square = 37.91 and 221.41; df = 31 and 193; p = .183 and .079; GFI = .991 and .979; AGFI = .978 and .953, accounting for the variations in reflection outcome = 43.4 and 40.4 percent, and in the effectiveness of classroom action research = 84.7 and 88.2 percent, respectively. The effects, both direct and indirect effects via reflection outcome, of the reflection process on the effectiveness of classroom action research were significant, and direct effects = .076 and .109 and indirect effects = .572 and .725, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32181
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.335
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.335
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lampong_kl.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.