Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3227
Title: ผลของ 1, 25 (OH)2D3 และเดกซาเมทาโซน ต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The effect of 1, 25 (OH)2D3 and dexamethasone on human pulpal fibroblasts in vitro
Authors: ประสิทธิ์ ภวสันต์
ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ
Email: Prasit.Pav@Chula.ac.th,prasitpav@hotmail.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ . ภาควิชาศัลยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ . ภาควิชาศัลยศาสตร์
Subjects: เนื้อเยื่อฟัน
คลองรากฟัน
เซลล์สร้างเส้นใย
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการตอบสนองของเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์ต่อ 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] และเดกซาเมทาโซน โดยเฉพาะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของซีดี44 และอัลฟา5เบตา1อินติกริน ทั้ง 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] และเดกซาเมทาโซนสามารถกระตุ้นการสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ แต่ 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] จะลดการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ I ในขณะที่เดกซาเมทาโซนจะเพิ่มการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ I เมื่อกระตุ้นเซลล์เป็นเวลา 12 วัน ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างของระดับดิฟเฟอเรนชิเอชันของเซลล์หลังการกระตุ้น นอกจากนี้ ระดับของซีดี44 และอัลฟา5เบตา1อินติกริน จะลดลงเมื่อกระตุ้นด้วยสารทั้งสองเป็นเวลา 12 และ 28 วัน ผลที่ได้สอดคล้องกับการลดลงของซีดี44 ในเซลล์สร้างเนื้อฟันของหนูเมื่อวิเคราะห์ด้วยการย้อมด้วยแอนติบอดี และสอดคล้องกับการลดลงของซีดี44 และอัลฟา5เบตา1อินติกริน ในเนื้อเยื่อโพรงฟัน เมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อกลางโพรงฟัน โดยใช้การวิเคราะห์แบบเวสเทอร์น โดยสรุป 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] และเดกซาเมทาโซนสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระดับดิฟเฟอเรนชิเอชันในเซลล์เพาะเลี้ยง และสามารถใช้การลดลงของซีดี44 และอัลฟา5เบตา1อินติกริน เป็นตัวกำหนดในการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
Other Abstract: The purpose of this investigation is to study the response of cultured human pulpal fibroblasts to 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] and dexamethasone, especially the changes in CD44 and alpha5beta1intergrin. Both 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] and dexamethasone can increase the level of alkaline phosphatase activity in these cells, but, while dexamethasone increases collagen type I synthesis, 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] decreases the synthesis of collagen type I after 12-day period of incubation. This result indicates the different stages of differentiation in these cells after Incubated with either 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] or dexamethasone. In addition, both 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] and dexamethasone decrease the level of CD44 and alpha5beta1 integrin expression in these cells after 12 and 28-day period of incubation. The decrease of CD44 and alpha5beta1 integrin corresponds with the absence of CD44 from odontoblasts in mouse tooth germs, as judged by immunohistochemical study, and with the decrease of CD44 and alpha5beta1 integrin in the extract from peripheral and central portions of human pulp, as judged by Westem analysis. In conclusion, both 1,25(OH)[subscript 2]D[subscript 3] and dexamethasone can alter the differentiation stage of pulpal cells in culture and the decreased level of CD44 and alpha5beta1 integrin can be used as a marker of differentiation in these cells.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3227
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit(dex).pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.