Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32479
Title: | ประสบการณ์ความงอกงามหลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง : การศึกษาเชิงคุณภาพแบบทีมวิจัยเห็นชอบร่วมกัน |
Other Titles: | Growth experience after group counseling of students from divorced family : a consensual qualitative research |
Authors: | สมรักษ์ ทองทรัพย์ |
Advisors: | ณัฐสุดา เต้พันธ์ สุภาพรรณ โคตรจรัส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | tnattasuda@gmail.com ksupapun@chula.ac.th |
Subjects: | การหย่า เด็กโตในครอบครัวหย่าร้าง -- การให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษาครอบครัว การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม วัยรุ่น -- การให้คำปรึกษา Divorce Adult children of divorced parents -- Counseling of Family counseling Group counseling Teenagers -- Counseling of |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมวิจัยเห็นชอบร่วมกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความงอกงามหลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง และมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง ณ หน่วยบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 11 คน ผลการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกันพบว่า หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้ให้ข้อมูลมีประสบการณ์ความงอกงาม ใน11 ประเด็นหลัก ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงภายในตน ได้แก่ 1.มีการยอมรับตนเอง 2.มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ได้รู้จักเข้าใจ และสนิทกันมากขึ้น 3.มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัว ตระหนักถึงคุณค่าและมีมุมมองเปิดกว้าง เข้าใจสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น 4.มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง เปิดกว้างมุมมองที่จะยอมรับและเข้าใจผู้อื่นอย่างที่เป็นมากขึ้น 5.เกิดแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเอง และมีพลังใจเพิ่มขึ้นจากเรื่องราวประสบการณ์ภายในกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 6.มีมุมมองเชิงสร้างสรรค์ต่ออุปสรรค ตระหนักว่าอุปสรรคนั้น ไม่ยากเกินกว่าฝ่าฟันไปได้ ทั้งยังทำให้ตนเติบโตเข้มแข็งขึ้น 7.ร่องรอยจากการหย่าร้างในครอบครัว กล่าวคือ เป็นความงอกงามในประสบการณ์การมาจากครอบครัวหย่าร้างในแง่มุมต่างๆ ที่ทำให้ตนเป็นเช่นทุกวันนี้ 8.มีสติรู้เท่าทัน 9.มีความรู้สึกสุขสงบ 10.มีความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในตน และสุดท้าย 11.มีความเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิตมากขึ้นการหย่าร้างในครอบครัวนับเป็นเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตที่สร้างความตึงเครียด และความรู้สึกเจ็บปวดได้มาก กระนั้นผลการศึกษาได้สะท้อนถึงความเติบโตงอกงามในประสบการณ์ภายหลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง ทั้งในส่วนของประสบการณ์จากการหย่าร้างในครอบครัว และประสบการณ์จากกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาดังกล่าว ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตต่อไป |
Other Abstract: | This Consensual Qualitative Research was conducted to study the growth experience of university students who came from divorced family after participated in group counseling. Eleven Bachelor’s Degree students who participated in group counseling for students from divorced family at an university counseling center were in-depth interviewed. The consensus qualitative data analysis identified the growth experiences as a positive change in 11 domains from all informants which are increasing openness to themselves, having a good relationship with other members in the group, having a good relationship with family members, having a good relationship with others, having an inspiration from stories of members and experiences within the group counseling, having positive perception toward obstacles, growth in trace after divorce, being more self-awareness, being more peacefulness, being more self – congruence and more understanding of the truth of life. Divorce in family is called as a stress and painful event in life, nevertheless, the growth experience according to the self-report shows some growth related to their experience in the group counseling and some growth related to their learning as being grow up from divorced family. At the end, research findings were discussed and some suggestions for further study were proposed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการปรึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32479 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.405 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.405 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
somrak_th.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.