Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32589
Title: ความคิดเห็นต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Other Titles: Opinion toward vocational diploma curriculum of tourism industry program
Authors: พัดยศ เพชรวงษ์
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: tepprasit_g@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
การวางแผนหลักสูตร
การศึกษาทางอาชีพ -- การวางแผน
Tourism -- Study and teaching -- Thailand
Curriculum planning
Vocational education -- Planning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสง ปีการศึกษา 2553 ของสถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐบาลและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 331 คน และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2552 จำนวน 100 คน รวมทั้งหมด 431 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ประกอบการ ใช้การสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน นำข้อมูลมาเรียบเรียงแล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และเสนอแนะแนวการปรับปรุงหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 ปี ศึกษาในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ร้อยละ 56.19 มีความคิดเห็นต่อมาตรฐานวิชาชีพมีความเหมาะสมว่าอยู่ในระดับมาก (X bar = 4.16) ส่วนโครงสร้างหลักสูตรมีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X bar = 3.98) และความต้องการต่อการศึกษาของนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.25) สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 22 ปี มีความคิดเห็นต่อมาตรฐานวิชาชีพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X bar = 4.17) ส่วนโครงสร้างหลักสูตรมีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X bar = 4.09) และความต้องการต่อการศึกษาของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.30) ผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญในเรื่องการรักในการบริการ และความซื่อสัตย์ รองลงมาคือ เรื่องความรู้เบื้องต้นในการประกอบวิชาชีพการเป็นผู้นำ รวมถึงระเบียบวินัย การปรับตัวในสังคม และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความคิดเห็นข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ด้านโครงสร้างหลักสูตร คือ กำหนดหน่วยกิตให้ทุกรายวิชาเป็น 2 หน่วยกิตขึ้นไป โดยเน้นการเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ ปรับรายวิชาให้สอดคล้องกับระดับอุดมศึกษา และด้านมาตรฐานวิชาชีพ คือ เน้นการเรียนภาคปฏิบัติ นำเทคโนโลยีมาจัดในการเรียนการสอน เพิ่มการศึกษาแบบทวิภาคี และเปิดหลักสูตรระยะสั้น
Other Abstract: The purpose of this research was to propose development opinion in tourism vocational diploma curriculum. Samples were 331 students, who studied in vocational diploma curriculum of tourism in the academic year of 2010, both private and public vocational education in Bangkok, and 100 former students in the academic of year 2009, total of 431 people. The research tool was questionnaire. Data were collected from survey and analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. Data from interviewing 10 entrepreneurs was collected and summarized then examined by the expert to propose guideline for developing vocational diploma curriculum. The results were found that the majority of the students were female, 20 years old, accounted for 56.19 percents and studied in tourism management. Their opinion towarded the professional standard and the curriculum structure was rated in the high level (X bar = 4.16 and X bar = 3.98) but need in continuing education was rated in the highest level (X bar = 4.25). For the former students, the majority were female with the avarage age of 22 years old. Their opinion towarded the professional standard and the curriculum structure was rated in thehigh level (X bar = 4.17 and X bar = 4.09) but need in continuing education was rated in the highest level (X bar = 4.30) Interview results found that the most important factors were service mind and honesty. Next important factors were fundamental knowledge in profession, leadership, discipline, social adjustment and relationship in work place. In conclusion, vocational diploma curriculum development guideline was to emphasize learning by practice, learning in English, technology application, subject adjustment in conform with the higher education level and accepted by the related organizations. In addition, every subject must be at least 2 credit hours. Short training course and seminar should be provded to teachers by emphasizing teaching technique and research.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32589
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1703
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1703
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patyos_ph.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.