Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32643
Title: ผลการฝึกช่วงยาวและการฝึกช่วงสั้นที่มีต่อการได้มาและการคงอยู่ ของการเรียนรู้ทักษะการทรงตัว
Other Titles: Effects of massed practice and distributed practice on balance skill acquisition and retention
Authors: ยุพาพร ทองตั้ง
Advisors: ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกช่วงยาวและการฝึกช่วงสั้นที่มีต่อการได้มาและการคงอยู่ของการเรียนรู้ทักษะการทรงตัว กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มโดยใช้วิธีสุ่มแบบธรรมดา (Simple random sampling) จำนวน 60 จากนักเรียนทั้งหมด 250 คน ประกอบด้วยนักเรียนชายและหญิงเพศละ 30 คน แล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเท่า ๆ กัน คือ กลุ่มฝึกช่วงยาว กลุ่มฝึกช่วงสั้นสลับยาว จากนั้นให้ผู้รับการทดลองกลุ่มฝึกการทรงตัวบนเครื่องวัดการทรงตัว (Stabilometer) เป็นเวลา 8 วัน ๆ ละ 5 นาที โดยกลุ่มฝึกช่วงยาวทำการฝึกทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 5 นาที ไม่มีการหยุดพัก กลุ่มฝึกช่วงสั้นทำการฝึกหัดครั้งละ 1 นาที พัก 30 วินาที และกลุ่มฝึกช่วงสั้นสลับช่วงยาว ทำการฝึกแบบช่วงสั้น 4 วัน และฝึกแบบช่วงยาว 4 วัน โดยสลับกันแบบละวัน หลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการฝึกหัด ผู้รับการทดลองทุกคนจะหยุดพักการฝึกเป็นเวลา 3 วัน แล้วจะรับการทดลองการคงอยู่ของการเรียนรู้ (Retention) ทักษะการทรงตัวภายในระยะเวลา 30 วินาที จำนวน 3 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีแมนคูลส์ เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. ในขั้นการได้มาซึ่งทักษะการทรงตัว กลุ่มฝึกช่วงยาว กลุ่มฝึกช่วงสั้น และกลุ่มฝึกช่วงสั้นสลับช่วงยาวมีความแตกต่างกันในวันที่ 1 ถึงวันที่ 8 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อรวมค่าเฉลี่ยของทุกวันพบว่า กลุ่มฝึกช่วงสั้นแตกต่างจากกลุ่มฝึกช่วงยาว และกลุ่มฝึกช่วงสั้นสลับช่วงยาวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มฝึกช่วงยาวและกลุ่มฝึกช่วงสั้นให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.ในชั้นการคงอยู่ของการเรียนรู้ทักษะการทรงตัว กลุ่มฝึกช่วงยาว กลุ่มฝึกช่วงสั้น และกลุ่มฝึกช่วงสั้นสลับช่วงยาว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the effects of massed practice and distributed practice on the acquisition and retention of the balance skill. Sixty samples; 30 males and 30 females, were selected by simple random sampling from 250 mathayom suksa one students from the Demonstration school of Kasetsart University. They were randomly assigned into 3 groups, as equal to sex and numbers, as to the massed practice group, the distributed practice group, and the mixed practice groups. All groups practiced the balance skill on a stabilometer with their own courses for eight days of 5 minutes. The massed practice group continuously performed the balance skill for five minutes. The distributed practice group performed the balance skill four trials of one minutes with a rest interval of 30 seconds. The mixed group performed the balance skill with the massed practice for four days and distributed practice for four day, conversely. After a 3-day retention interval, they were tested on the retention of balance skill for three trials of 30 seconds. The obtained data were, them, analyzed into means and standard deviation. One-way analysis of variance, two-way analysis of variance, and Newman-Keuls multiple range test were employed to determine if there were any significant differences. It was found that: 1.In the acquisition phase of balance skill, the massed practice group, the distributed practice group, and the mixed group showed significant difference from the first day to the eight day. When considering the performance averages, the distributed group significantly out-performed the massed group and the mixed group at the .05 level, whereas, the massed group and the mixed group were not significantly different at the .05 level. 2. In the retention phase of balance skill, there were significant differences among the massed practice group, the distributed practice group, and the mixed group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32643
ISBN: 9745678945
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupaporn_to_front.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_ch1.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_ch2.pdf19.92 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_ch3.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_ch4.pdf17.46 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_ch5.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_to_back.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.