Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32875
Title: มหาชาติไทลื้อ กัณฑ์ที่ 1-7 : กลวิธีทางวรรณศิลป์และภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรม
Other Titles: The Tai Lue Mahachat chapter 1-7 : literary techniques and reflection of society and culture
Authors: วกุล มิตรพระพันธ์
Advisors: อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Anant.L@Chula.ac.th
Subjects: มหาชาติ -- ประวัติและวิจารณ์
ลื้อ -- ความเป็นอยู่และประเพณี
วรรณคดีพุทธศาสนา
Thai lue -- Social life and customs
Buddhist literature
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาต้นฉบับมหาชาติไทลื้อในสิบสองพันนา พบว่ามหาชาติไทลื้อในสิบสองพันนามีทั้งหมด 4 สำนวน ได้แก่ สำนวนห่านห้าว สำนวนนางหล้า สำนวนเมืองบ่อ และสำนวนผ้าขาว การศึกษาจำกัดศึกษาเฉพาะกัณฑ์ที่ 1-7 ผู้วิจัยได้ปริวรรตต้นฉบับมหาชาติไทลื้อสำนวนห่านห้าว ซึ่งเป็นสำนวนที่ชาวไทลื้อยกย่องว่าไพเราะที่สุดจากอักษรไทลื้อเป็นอักษรไทย แล้วนำมาวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์และภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า มหาชาติไทลื้อกัณฑ์ที่ 1-7 มีกลวิธีทางวรรณศิลป์ 4 ประการคือ กลวิธีสร้างความงามด้านเสียง กลวิธีสร้างความงามด้านถ้อยคำ กลวิธีสร้างความงามด้านความหมายและกลวิธีตั้งชื่อกัณฑ์ กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่เด่นที่สุดคือ กลวิธีสร้างความงามด้านถ้อยคำ โดยเฉพาะการสรรคำ ช่วยสื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ลึกซึ้งกินใจและช่วยสร้างจินตภาพได้อย่างดีเยี่ยม การใช้คำเรียกตัวละคร ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจลักษณะของตัวละครได้อย่างกระจ่างทั้งด้านบุคลิกและอุปนิสัย ด้านภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมพบว่า มหาชาติไทลื้อกัณฑ์ที่ 1-7 ให้ภาพสะท้อน 5 ประการคือ ภาพสะท้อนด้านค่านิยม ภาพสะท้อนด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาพสะท้อนด้านสภาพสังคม ภาพสะท้อนด้านคติความเชื่อ และภาพสะท้อนด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาพแต่ละด้านสะท้อนให้เห็นว่า ตัวละคร สังคมและวัฒนธรรมไทลื้อที่ปรากฏในเรื่องมหาชาติ สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อในสิบสองพันนาอย่างแนบแน่น ภาพสะท้อนเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม ความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ของชาวไทลื้อในสิบสองพันนาอย่างชัดแจ้ง
Other Abstract: To study Mahachat manuscripts originated in Sipsongpanna. The study informs that there are four different versions of Mahachat in Sipsongpanna, namely, Han Hao, Meng Bo, Nang Lha, and Pha Khaw. Han Hao version which is the best one of them is selected to transliterate from Tai Lue’s script to Thai’s script and analyze the literary techniques and reflection of society and culture, limited in chapter 1-7. The study reveals that there are four literary techniques in the Tai Lue Mahachat chapter 1-7, the technique to create a fine voice, the beauty in words, the elegant meaning and the chapter’s name. The most outstanding literary techniques is the technique to create the beauty in words, especially, the splendid selection of words which can deeply express the character’s emotions and create the clearly images. Beside, the use of character’s name can perfectly support the reader to understand the characters’ characteristics. The study of the reflection of society and culture shows that there are five reflections appeared in the Tai Lue Mahachat chapter 1-7, the reflection of local value, local lifestyle, local society, local beliefs and local nature. Each of the reflection represents that the characters, society and Tai Lue’s culture displayed in the Tai Lue Mahachat chapter1-7 is inseparably concerned to the culture of Tai Lue people in Sipsongpanna and these reflections also apparently manifested their life, value, beliefs, and the others culture of them.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32875
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1311
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1311
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wakul_mi.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.