Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33097
Title: โลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารกับสำนักข่าวนานาชาติประจำประเทศไทย
Other Titles: Globalization of communication and international news agencies in Thailand
Authors: บุษยมาส สองเมือง
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: สำนักข่าว -- การบริหาร
การสื่อสาร
สื่อมวลชนกับโลกาภิวัตน์
News agencies -- Administration
Communication
Mass media and globalization
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของโลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารต่อการทำงานของสำนักข่าว นานาชาติในประเทศไทย เพื่อดูว่าโลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารส่งผลต่อโครงสร้างการทำงาน กระบวนการทำงาน ประเภทข่าวที่นำเสนอ และการกำหนดประเด็นข่าวของสำนักข่าวหรือไม่ อย่างไร เลือกศึกษาสำนักข่าวนานาชาติ 2 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ สำนักข่าว Reuters ของอังกฤษ และสำนักข่าว Xinhua ของจีนโดยใช้การวิจัยเอกสารและ การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรข่าวของสำนักข่าวทั้ง 2 แห่ง จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า โลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารส่งผลกระทบใน 3 ด้านที่สำคัญ คือ 1. การหลอมรวมทางเทคโนโลยีกับรูปแบบธุรกิจและทิศทางข่าวสารในสำนักข่าว ในกรณีของสำนักข่าว Reuters การหลอมรวมทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็น ได้แก่ การควบรวมธุรกิจกับบริษัท ข้อมูลยักษ์ใหญ่ Thomson Corporations และการแข่งขันจากช่องทางข่าวสารที่หลากหลายมากขึ้นจากนักข่าว พลเมือง (Citizen Journalists) บนอินเทอร์เน็ต โดยการควบรวมธุรกิจ ทำให้กลุ่มลูกค้าของ Reuters เปลี่ยนจาก สื่อมวลชนมาเป็นนักลงทุนและองค์กรเอกชน ซึ่งส่งผลให้ประเด็นและแนวทางข่าวที่นำเสนอเปลี่ยนไปเป็นข่าวทาง การเงินหรือข่าวที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ในขณะที่การแข่งขันที่มากขึ้นทำให้ Reuters ต้องเน้นนำเสนอข่าวเชิง วิเคราะห์มากขึ้น ส่วนในกรณีของสำนักข่าว Xinhua ไม่มีการควบรวมกิจการ การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้นเป็นผลมา จากนโยบายเปิดประเทศของจีนที่ทำให้สำนักข่าว Xinhua ต้องดำเนินงานในฐานะสื่อของชาติที่ให้บริการในระดับ นานาชาติ ประเด็นและแนวทางของข่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก แต่จะหันมาเน้นปริมาณข่าว ทั้งภาษาจีนและ อังกฤษ 2.ระบอบการปกครองกับคุณค่าข่าวในสำนักข่าว: ความเปลี่ยนแปลงหรือความต่อเนื่องภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์ พบว่า ในฐานะสำนักข่าวของประเทศประชาธิปไตย สำนักข่าว Reuters ยังคงยึดถือคุณค่าข่าวแบบโลก ที่ 1 แต่เนื่องจากสำนักข่าวคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ ข่าวที่ Reuters ให้ความสำคัญมากที่สุด จึงยังคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงหรือส่งผลกระทบต่อตลาด ในขณะที่สำนักข่าว Xinhua ยังคงยึดถือคุณค่าข่าวแบบโลกที่ 2 แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนบริการข่าวภาษาอังกฤษ ที่ใช้คุณค่าที่เปิดกว้างและเป็นแบบโลกที่ 1 มากขึ้น แต่ ยังคงเน้นข่าวเกี่ยวกับประเทศจีนและต้องไม่ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับระบอบการปกครองของจีน 3. โลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารกับอำนาจของท้องถิ่น - การกำหนดประเด็นข่าวจากท้องถิ่น สะท้อนให้เห็น ชัดเจนจากบริการข่าวภาษาไทยของสำนักข่าว Reuters ที่นักข่าวและบรรณาธิการชาวไทยเป็นผู้เตรียมเนื้อหา สำหรับลูกค้าชาวไทยเองโดยตรง อย่างไรก็ตามพบว่าบริการดังกล่าวเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับบริการข่าว ทั้งหมดของ Reuters อีกทั้งยังไม่ได้มีลักษณะเป็นท้องถิ่นภิวัตน์ที่ท้องถิ่นมีอำนาจอย่างแท้จริง แต่เป็นไปในลักษณะ โลกาเทศาภิวัตน์ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหาสำหรับท้องถิ่น กับนโยบายองค์กรของสำนักข่าวตะวันตก
Other Abstract: The objective of this research is to study the influences of globalization of communication on the working process of international news agencies in Thailand, in this case the English News Agency, Reuters and the Chinese News Agency, Xinhua. Research methodologies used in this study are document research and in-depth interviews. The research findings indicate that globalization of communication impacts on the news agencies in 3 ways as follows: 1. Technological convergence as a result of globalization of communication has led to a transformation of Reuters in terms of the business operation and types of news produced by the new agency. The convergence of technology induces 2 significant changes, which are Reuters’ merger with a giant information company, Thomson Corporation, and multiplicity of news channels from citizen journalists on the Internet. After the merger, Reuters’ major customers have changed from media to investors and private organizations. This influences Reuters to switch its focus to financial news and market moving stories rather than general news. At the same time, with multiple channels of news, Reuters has to emphasis more on analytic and in-depth news. In contrast, Xinhua News Agency does not have an issue of merger. The change in its operation results from China’s Open-Door policy, which influences Xinhua, as China’s representative, to become a national news agency that provides services internationally. Types of news produced by Xinhua have not changed much, but it focuses on producing as much as possible news, both in Chinese and English. 2. In terms of the regime and its impacts on news values applied by each news agency, it is found that Reuters, as the new agency of democratic countries, still uses the news values of the first world. However, as it considers customers’ demands most important, types of news Reuters gives importance to are financial and market moving news. On the other hand, Xinhua still clings to the news values of the second world as it is the news agency of the Communist Party of China. Nevertheless, there begin to be a change for English news in which Xinhua uses more first world news values, but it still focuses mainly on China-related news. 3. Globalization of communication allows for an appearance of local contents in the case of Reuters. Reuters has just started providing Thai news services, in which the Thai editor has full authority to edit the news, independently of western editors, to serve Thai customers. However, it is not real localization of content but rather glocalization which is an integration of local contents and an organizational policy of the western news agency.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33097
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.540
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.540
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
busayamas_so.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.