Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33117
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเข้าใจในการอ่านที่มีแรงจูงใจในการอ่านและความสามารถทางภาษาเป็นตัวแปรส่งผ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: Development of a causal model of reading comprehension with reading motivation and language ability as mediator variables of elementary students
Authors: พิธพร นิโกบ
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: นักเรียนประถมศึกษา
ความเข้าใจในการอ่าน
การอ่านขั้นประถมศึกษา
Students
Reading comprehension
Reading (Elementary)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อจำแนกตามเขตพื้นที่และขนาดโรงเรียน 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเข้าใจในการอ่านที่มีแรงจูงใจในการอ่าน และความสามารถทางภาษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 487 คน ตัวแปรแฝงที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถทางภาษา แรงจูงใจในการอ่าน ภูมิหลังของผู้อ่าน และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่าน วัดปัจจัยด้านแรงจูงใจในการอ่าน ภูมิหลังของผู้อ่าน และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .7532 ถึง .9098 2) แบบวัดความเข้าใจใน การอ่าน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.72 3) แบบวัดความสามารถทางภาษาไทย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับประถมศึกษามีความเข้าใจในการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีความเข้าใจในการอ่านมากกว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ต่างกัน กล่าวคือ นักเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งนักเรียนในเขตเมืองและนอกเขตเมืองมีความเข้าใจในการอ่านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) โมเดลเชิงสาเหตุของความเข้าใจในการอ่านที่มีแรงจูงใจในการอ่านและความสามารถทางภาษาเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ² = 26.91, df = 54, p = 0.999, GFI = 0.995, AGFI = 0.978, RMR = 0.024) 3) แรงจูงใจในการอ่านและความสามารถทางภาษาเป็นตัวแปรส่งผ่านที่มีอิทธิพลต่อความเข้าใจในการอ่าน กล่าวคือ ภูมิหลังของผู้อ่านและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านแรงจูงใจในการอ่านและความสามารถทางภาษาไปยังความเข้าใจในการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภูมิหลังของผู้อ่าน ความสามารถทางภาษา และแรงจูงใจในการอ่าน มีอิทธิพลทางตรงต่อความเข้าใจในการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถทางภาษามีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความเข้าใจในการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were as follows 1) To study and compare the level of reading comprehension of elementary students of different area and school size. 2) To develop the causal model of reading comprehension with reading motivation and language ability as mediators. 3) To examine the goodness of fit of the model with empirical data 4) To study direct effect and indirect effect of effecting toward reading comprehension with reading motivation and language ability as mediators. The sample, randomly selected using three-stage sampling, consisted of 487 elementary students in school under the jurisdiction of the office of basic education committee at Bangkok Metropolitan Region. Variables consisted of 5 latent variables : reading comprehension, language ability, reading motivation, background knowledge and school’s environment. The three research instruments were 1) The questionnaire measuring reading motivation factor, background knowledge factor and school’s environment factors with reliabilities of ranging from .7532 to .9098 2) Reading comprehension scale with reliability of 0.70 3) Language ability scale with reliability of 0.73. The research data was analyzed by employing descriptive statistic, t-test independent, Pearson correlation and Lisrel model analysis. The research findings were as follows 1) Reading comprehension of elementary students were a medium level. Students of large school had higher reading comprehension than students of medium school (p < .01). Reading comprehension of student who lived in different area weren’t different (p < .05). 2) The developed causal model was fit to the empirical data all goodness of fit indices satisfying the required criteria. (χ² =51.29, df = 79, p = 0.993, GFI = 0.990, AGFI = 0.971, RMR = 0.036) 3) Reading motivation and language ability are mediator variables that toward reading comprehension. Background knowledge and school’s environment had a significant indirect effect toward reading comprehension with reading motivation and language ability as mediator variables (p < .05). Language ability, reading motivation and background knowledge had a significant direct effect toward reading comprehension (p < .05). Language ability had the most significantly total effect toward reading comprehension (p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33117
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1370
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1370
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pittaporn_nl.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.