Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33389
Title: ประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิและการฟื้นพลังของวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ. 2547 : การศึกษาแบบผสานวิธี
Other Titles: Tsunami experiences and resilience of Thai adolescents affected by the 2004 tsunami : a mixed method study
Authors: นภชนก สุขประเสริฐ, 2528 -
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
วัชรี ทรัพย์มี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th
watcharee@chula.ac.th
Subjects: สึนามิ
ความสามารถในการฟื้นพลังในวัยรุ่น
Tsunamis
Resilience ‪(Personality trait)‬ in adolescence
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีประเภทเชิงอธิบายเป็นลำดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิ และความสามารถในการฟื้นพลังของวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ.2547 กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ. 2547 จำนวน 200 คน ตอบแบบสอบถามสำหรับข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ จากนั้นวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิมาก และมีค่าคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังสูง จำนวน 8 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิ แบบวัดความสามารถในการฟื้นพลัง และชุดคำถามสัมภาษณ์ ผลการวิจัยด้านข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการฟื้นพลังตามสถานการณ์ องค์ประกอบการมีบุคคลหรือแหล่งสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการฟื้นพลังจากลักษณะนิสัย องค์ประกอบการมีพลังภายในจิตใจที่เข้มแข็ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิจัยเชิงคุณภาพสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่าวัยรุ่นที่มีความสามารถในการฟื้นพลังภายหลังประสบภัยพิบัติสึนามิรายงานว่า พวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนสำคัญในชีวิต เช่น บิดา มารดา ครู และเพื่อน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ทำให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของประสบการณ์ภัยพิบัติ สึนามิ และความสามารถในการฟื้นพลังของวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ.2547 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยและการออกแบบรูปแบบบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Other Abstract: This mixed sequential explanatory study aimed to explore the relationship between tsunami experience and resilience of 200 teenagers who were affected by the 2004 tsunami disaster and who were chosen purposively. The Tsunami Experience Questionnaire and the Resilience Scale were used to collect quantitative data and screen eight participants who scored the highest on resilience for further semi-structured interview to gather in-depth qualitative data. The quantitative results revealed that the tsunami experience was positively correlated to the dimension of social support or significant persons in state resilience and the inner strength in trait resilience at the significant statistical level (p < .05). The qualitative results supported the quantitative conclusion that teenagers who showed resilience after the disaster had satisfactory relationship with significant others in life, such as parents, teachers, and friends. The findings of this study yield the clearer view of the tsunami event and the resilience among the teenagers affected by the disaster in 2004 and can serve as fundamental information for further research in the topic and in designing certain appropriate counseling programs for teenagers affected by natural disasters.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33389
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1434
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1434
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopchanok_su.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.