Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33894
Title: สภาวะการเปลี่ยนแปลงชุมชนหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น: ศึกษาการจัดช่วงชั้นทางสังคม
Other Titles: Changing conditions in a village community of Khon Kaen : a study of social stratification
Authors: นิลมณี อารีรัตน์
Advisors: ธีรเวทย์ ประมวญรัฐการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ชนชั้นในสังคม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การเลื่อนฐานะทางสังคม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตลาดแรงงาน -- ตะวันออกกลาง
ขอนแก่น -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาสภาวะการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ที่มีประชากรไปทำงานในตะวันออกกลาง เนื่องจากภาวการณ์ว่างงานของแรงงานในประเทศไทย เป็นปัจจัยผลักดันให้แรงงานเหล่านั้นต้องดิ้นรนช่วยตนเองหางานทำ ประกอบกับความต้องการแรงงานและอัตราค่าจ้างแรงงานที่สูงของประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลาง เป็นปัจจัยดึงดูดให้แรงงานตัดสินใจเดินทางไปทำงานในตะวันออกกลาง วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาถึงการจัดระเบียบทางสังคม และผลกระทบจากการที่มีประชากรไปทำงานในตะวันออกกลาง ต่อชุมชนทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการสำรวจตามแบบสอบถามและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับประชากรที่มี-ไม่มีประสบการณ์ไปทำงานในตะวันออกกลาง ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2528 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวม ผู้มี-ไม่มีประสบการณ์ไปทำงานในตะวันออกกลางไม่แตกต่างกันในด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม อาจจัดอยู่ในช่วงชั้นเดียวกันได้ แต่เมื่อพิจารณาตัวแปรชุดปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีตัวแปรด้าน ระดับรายได้ อาชีพ และสิ่งของเครื่องใช้ จึงพบว่า มีตัวแปรเพียง 2 ใน 3 ที่กำหนดความแตกต่างทางช่วงชั้น ฉะนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ถึงความสำคัญของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของช่วงชั้นเสมอไป เพราะเมื่อพิจารณาปัจจัยทางอาชีพ (ซึ่งเป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจ) จึงพบว่าได้ถูกกลืนกลายจากปัจจัยทางสังคม หรือสภาวะทางการศึกษาและการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ที่ทำให้มองไม่เห็นความแตกต่างในช่วงชั้นระหว่างผู้มี-ไม่มีประสบการณ์ไปทำงานในตะวันออกกลางเลย ในเรื่องการเลื่อนชั้นทางสังคมไม่พบว่า มีการเคลื่อนที่ทางสังคม ในกลุ่มผู้มีประสบการณ์ภายหลังจากที่ชุมชนได้สัมผัสกับสภาวะเศรษฐกิจของการจ้างแรงงานระหว่างประเทศ การวิเคราะห์มิอาจทำได้กับประชากรทุกกลุ่มในชุมชนนี้ เนื่องจากปราศจากข้อมูลที่จะเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมระหว่างระยะเวลาก่อนและหลังที่ชุมชนนี้ได้มีประสบการณ์ของการจ้างแรงงานระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้สามารถที่จะพิจารณาการเลื่อนชั้นทางสังคมโดยอาศัย สิ่งของเครื่องใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ และพบว่า ผู้กลับจากการทำงานในตะวันออกกลาง มากกว่าครึ่งกระจายอยู่ในช่วงชั้นที่สูงกว่าเดิมก่อนไปทำงานในตะวันออกกลาง ทั้งนี้ตามสายตาของเพื่อนบ้านที่พิจารณาจากค่านิยมที่ผูกพันกับความทันสมัยที่เหลือยังคงถูกมองอยู่ในสถานภาพเดิม แม้ว่าการวิเคราะห์เรื่องการเลื่อนชั้นนี้ สามารถทำได้ดังได้กล่าวมาข้างต้นข้อมูลเกี่ยวกับด้านอาชีพ และการเป็นสมาชิกกลุ่มก็สามารถยืนยันได้ว่า การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้ของประชากร ทั้งหมดในชุมชนมิได้แตกต่างไปจากช่วงเวลาก่อนที่ชุมชนนี้จะเริ่มมีสมาชิกไปทำงานในตะวันออกกลาง การที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเลื่อนชั้นทางสังคม ยกเว้นที่สามารถจะพอมองเห็นได้ในการจัดช่วงชั้น แม้ว่าจะดูเป็นข้อค้นพบที่อาจแตกต่างไปจากผลการวิจัยอื่นๆ ก็มิได้แสดงว่า การรับจ้างแรงงานในตะวันออกกลางไม่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในชุมชนที่ศึกษา เนื่องจากอย่างน้อยเป็นการเริ่มรายได้ในชนบท กล่าวโดยส่วนรวม ปรากฏการณ์นี้น่าจะได้รับการส่งเสริมมากขึ้น ในแง่ที่การศึกษานี้พิจารณาว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่เป็นเรื่องที่น่าวิตกว่าจะกระทบกระเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชุมชนบทไทย
Other Abstract: This study concerns socio-economic changing conditions in a rural mortheastern community near Khon Kaen Province in which a sizable number of local villagers have experienced an overseas employment in the Middle-East. Due to Thailand’s undergone economic slump in the 1970’s coupled with the concurrent demand for labour from certain Arabian countries, this thesis is hoped to ascertain the impact of change possibly brought about by the returned Thai manpower from the Middle-East on social stratification, mobility and economic conditions in the local community. The questionnaire survey and participant-observation methods of investigation were employed in conducting the field data collection during April-December 1985. Data analyses were made through both quantitative and qualitative techniques. It is found that in the community under study both villagers who experienced the overseas employment and those who have no such an experience do not present significant social and economic status differences. They are not therefore distinctly characterized to be found in different social strata. However, when these two groups are analyzed with economic variables, namely, income, occupation and material belongings, they are found economically different, although indicated only by income and material belongings. They are therefore assigned into separate strata. Quite interestingly, each of our social variables clearly indicated differentiation of these two groups that they in effect belong to different social strata. This finding perhaps suggests that local tradition may have a strong negative impact on change in this community despite its undergone economic changing condition. In terms of social mobility, this study does not find any remarkable change as far as that in the occupational structure is concerned. The overall changing conditions in the community under study are not striking except to be found only within families of those villagers who have returned from the Middle-East, particularly in considering the modern materialistic belongings imported or purchased through their overseas monetary income. As such, there is no expected consequent effect in the immediate future in terms of an expectation of change in social and economic conditions in this community under study. The finding therefore corresponds with the earlier analysis in this study. The general findings run counter with other studies which seem to suggest an alarming impact on economic changes in rural Thai villages caused by returned Thai contract workers from the Middle-East. The existing situation should therefore be further encouraged without having any growing concern that the rural Thai community structure would be jeopardized economically by the continuing flow of rural Thai manpower to the Middle-East.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33894
ISBN: 9745670448
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nilmanee_ar_front.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch1.pdf14.26 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch2.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch3.pdf30.87 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch4.pdf15.85 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch5.pdf8.7 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_ch6.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Nilmanee_ar_back.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.