Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34364
Title: แนวทางการกำหนดแผนโครงสร้างเพื่อการพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: The guide line study for structure plan of Surat Thani province
Authors: บุหงา โพธิ์พัฒนชัย
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะหลังโดยเฉพาะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) เน้นให้ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นได้พัฒนาความเจริญให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสามารถในการผลิตของแต่ละจังหวัดโดยใช้แผนพัฒนาระดับจังหวัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ทั้งยังมีแนวนโยบายในการพัฒนาชนบทส่วนใหญ่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ประเภท คือ ชนบททั่วไปกับชนบทยากจน และจะดำเนินการเร่งรัดพัฒนาชนบทยากจนก่อน ซึ่งในจังหวัดสุราษฏร์ธานีไม่มีพื้นที่ชนบทยากจนอยู่เลย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้มีขนาดพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าไม้ แร่ธาตุ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรการท่องเที่ยวๆ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเหมาะสมกับการเกษตรกรรม อีกทั้งทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงเทพมหานคร กับภาคใต้ตอนล่างและความสะดวกในด้านการคมนาคมติดต่อทำให้พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่ที่มีแววการพัฒนาสูงอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเมืองหลักของภาคใต้ตอนบน และจากโครงการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาคใต้ตอนบนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอแนะให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางความเจริญ และเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยเชื่อมโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก การศึกษาครั้งนี้จึงได้เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดตัวอย่างศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการวางแผนโครงสร้างสำหรับการนำไปจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. ศึกษาโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการบริการขั้นพื้นฐาน 3. ศึกษาโครงสร้างปัญหาหลักของจังหวัด 4. ศึกษาศักยภาพในการพัฒนาชุมชนเมืองและการพัฒนาชนบทของจังหวัด วิธีการศึกษา 1. การจัดลำดับศูนย์กลางชุมชนเมืองและการพัฒนาเมือง ทำการประเมินด้วยวิธีการให้ค่าคะแนนปัจจัยต่างๆ ทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการบริการขั้นพื้นฐานตามวิธีเมตริกสหสัมพันธ์ และหาพื้นที่ใต้เขตอิทธิพลของชุมชนเมืองแต่ละแห่งด้วยวิธี Gravity model 2. สภาพและศักยภาพในการพัฒนาชนบททำการศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบซึ่งมีตัวแปรทั้งสิ้น 24 ตัว โดยพิจารณาจากตัวแปรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาชนบทในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และทำการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรม SPSS. ซึ่งผลจากการศึกษาตามข้อ 1, 2 ประกอบกับหน้าที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาระดับชาติ และระดับภาค จะเป็นเครื่องช่วยในการกำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัดตามศักยภาพของจังหวัด ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า การผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานการผลิตหลักของจังหวัด แต่มีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากประสิทธิภาพและผลผลิตต่ำ ซึ่งมีสาเหตุจากการใช้ที่ดินในการเพาะปลูกอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรป่าไม้ และการประมงอย่างฟุ่มเฟือย จะทำให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลงในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาการเกษตรกรรมที่ผ่านมาเป็นการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการปรับปรุงบำรุงทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานการผลิต ส่วนการผลิตในสาขาอื่น พบว่าในสาขาอุตสาหกรรมจะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีฐานการผลิตแคบและมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย (พ.ศ. 2521-2525) แต่โอกาสในการพัฒนาทางอุตสาหกรรมของจังหวัดมีอยู่มาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและความสะดวกในการคมนาคม ในขณะเดียวกันการค้าและบริการมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สภาพการบริการขั้นพื้นฐานโดยทั่วไปยังค่อนข้างขาดแคลนและต่ำกว่าระดับมาตรฐาน การตั้งถิ่นฐาน และลำดับความสำคัญของชุมชนเมือง ระบบชุมชนเมืองของจังหวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนแบบโตเดี่ยว ซึ่งมีเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด ขาดศูนย์กลางชุมชนรองที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงและกระบายการพัฒนาไปยังพื้นที่ชนบทโดยรอบได้อย่างแท้จริง ลำดับศูนย์กลางชุมชนตามความสำคัญ คือ ศูนย์กลางชุมชนลำดับที่ 1 ได้แก่ เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ศูนย์กลางชุมชนลำดับที่ 2 ได้แก่ สุขาภิบาลท่าข้าม (พุนพิน) ศูนย์กลางชุมชนลำดับที่ 3 ได้แก่ เทศบาลตำบลบ้านนาสาร สุขาภิบาลเกาะสมุย และสุขาภิบาลเวียงสระ ศูนย์กลางชุมชนลำดับที่ 4 ได้แก่ สุขาภิบาลตลาดไชยา ศูนย์กลางชุมชนลำดับที่ 5 ได้แก่ สุขาภิบาลท่าฉาง สุขาภิบาลบ้านนา สุขภิบาลกาญจนดิษฐ์ สุขาภิบาลดอนสัก สุขาภิบาลท่าขนอน สุขาภิบาลย่านดินแดง สุขาภิบาลท่าทองใหม่ สุขาภิบาลพุมเรียง สุขาภิบาลท่าชนะ สุขาภิบาลเคียนซา สุขาภิบาลพนม และสุขาภิบาลเขาวง ตามลำดับ ศูนย์กลางชุมชนที่ควรจะได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทในการกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ชนบทโดยรอบได้แก่ สุขาภิบาลท่าข้าม เทศบาลตำบลบ้านนาสาร สุขาภิบาลเกาะสมุย สุขาภิบาลเวียงสระ และสุขาภิบาลตลาดไชยา การศึกษาสภาพการพัฒนาและศักยภาพในการพัฒนาชนบท สามารถสรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเหมาะสำหรับการอนุรักษ์ให้คงสภาพป่าต้นน้ำลำธารและป้องกันการพังทะลายของดิน สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันยังคงสภาพป่า และป่าชายเลนอย่างสมบูรณ์ พื้นที่ในกลุ่มนี้จะอยู่ทางด้านตะวันตกของอำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง คีรีรัฐนิยม บ้านตาขุน และพนม กลุ่มที่ 2, 3, 4 สภาพของชนบทใน 3 กลุ่มนี้ใกล้เคียงกัน ซึ่งพื้นที่ในกรณีนี้จะเป็นพื้นที่เร่งรัดพัฒนาการเกษตรกรรม และการปลูกพืชเศรษฐกิจ สภาพของดินในบริเวณนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชยืนต้น และข้าวไร่ และสภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันยังค่อนข้างเบาบางไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยทั่วไปตำบลใน 3 กลุ่มนี้ยังขาดแคลน การบริการพื้นฐานและสาธารณูปการของรัฐ ซึ่งจะพบโดยทั่วไปในบริเวณตอนกลางของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี พุนพิน ไชยา ท่าฉาง ท่าชนะ กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก บ้านนาสาร และกิ่งอำเภอบ้านนาเดิม บริเวณที่ราบต่ำตอนกลางในเขตอำเภอ เคียนซา เวียงสระ พระแสงและกิ่งอำเภอชัยบุรี กลุ่มที่ 5,6 สภาพการพัฒนาชนบทใน 2 กลุ่มนี้ดีกว่า 4 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ตำบลในกลุ่มนี้มีอาณาเขตต่อเนื่อง และสามารถติดต่อกับพื้นที่เมืองหรืออยู่ในทิศทางที่เมืองขยายตัวออกไป ซึ่งพบว่ามีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านการอุตสาหกรรมได้ค่อนข้างสูงถึงสูง มีทั้งสิ้น 10 ตำบลด้วยกัน คือ ตำบลท่าชนะ (ท่าชนะ) ตำบลท่าขนอน (คีรีรัฐนิคม) ตำบลบ้านนา (กิ่งบ้านนาเดิม) ตำบลบ้านส้อง (เวียงสระ) ตำบลอ่างทองและลิปะน้อย (เกาะสมุย) ตำบลวัดประดู่ บางกุ้ง และมะขามเตี้ย (อำเภอเมือง) และตำบลท่าข้าม (พุนพิน) แนวทางการพัฒนาจังหวัด ด้านเศรษฐกิจ – การเกษตรกรรม พัฒนาศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรของจังหวัดให้สูงขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต ขบวนการผลิตและเทคโนโยลี อาทิการเพิ่มประสิทธิภาพาการใช้ที่ดิน การพัฒนาการชลประทาน การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ ฯลฯ 1. ปรับปรุงโครงสร้างการใช้ที่ดิน ซึ่งรูปแบบของการใช้ที่ดินที่เหมาะสมคือ ก. พื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ และปลูกป่าขาดแคลน เพื่อใช้เป็นต้นน้ำลำธารและป้องกันการกษัยการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด ข. พื้นที่ส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร การเพิ่มผลผลิตจะทำโดยการเกษตรอย่างเต็มที่ตลอดปี และการพัฒนาการชลประทานในระดับไร่นา การปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งได้แก่พื้นที่บริเวณที่ราบริมฝั่งทะเลและในเขตที่ราบต่ำตอนกลาง ค. พื้นที่ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งสามารถทำการส่งเสริมได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม การเพาะเลี้ยงชายฝั่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมในบริเวณชายฝั่งทะเลเขตอำเภอไชยา ท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ และดอนสัก ซึ่งควรจะได้มีการกำหนดพื้นที่ในการนี้ไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม 2. ให้ความรู้ทางวิชาการเกษตรแผนใหม่แก่เกษตรกร การป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรพื้นฐาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของพื้นที่แต่ละแห่ง 3. พัฒนาระบบตลาดในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ – อุตสาหกรรม ควรจะทำการพัฒนาไปพร้อมๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรกรรมของจังหวัด โดยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหารกระป๋อง (อาหารทะเลและผลไม้) ตลอดจนอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น เมืองสุราษฎร์ธานีจะพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดยอาศัยทรัพยากรในท้องถิ่นและความได้เปรียบทางด้านที่ตั้ง – การท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวและรักษาสภาพแวดล้อมจะต้องจัดทำอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะการควบคุมการใช้ที่ดินในเขตแหล่งท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนทั้งของภาครัฐ-เอกชนและการประสานงานการพัฒนาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านสังคมและบริการขั้นพื้นฐาน 1. เร่งรัดพัฒนาและปรับปรุงการบริการขั้นพื้นฐานทางสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุต การสาธารณสุข และสาธารณูปการต่างๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย และการกระจายการบริการต่างๆ ไปยังพื้นที่ชนบทโดยรอบแต่ละศูนย์กลางชุมชนเมือง 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการพัฒนาท้องถิ่น 3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการพัฒนาท้องถิ่น 3. ส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของสภาตำบลให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างแท้จริง – การพัฒนาชุมชนเมือง 1. ในเขตเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ควรจะได้มีการจัดทำผังเมืองรวมและผังเฉพาะ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ในอนาคตและการเพิ่มขึ้นของประชากร 2. ส่งเสริมขุมชนสุขาภิบาลแต่ละแห่ง ให้สามารถช่วยเหลืองตนเองให้สามารถทำหน้าที่เป็นกระจายและเชื่อมโยงการพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะสุขาภิบาลท่าข้าม เทศบาลตำบลบ้านนาสาร สุขาภิบาลเกาะสมุย สุขาภิบาลเวียงสระ และสุขาภิบาลตลาดไชยา แนวทางการพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นพื้นฐานในการนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมบทบาทความเป็นเมืองหลักในภาคใต้ตอนบนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งการกำหนดโครงการต่างๆ ในส่วนย่อยจะต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน โดยมีปัจจัยอื่นๆ เป็นตัวกำหนดที่สำคัญ ได้แก่ การบริหาร การปฏิบัติตามแผนงบประมาณ และการประสานงาน เป็นต้น
Other Abstract: The Fifth National Social and Economic Development Plan (2525-2529 B.E.), the major national development policy emphasized on promoting the local and provincial development according to their need and production potentiality by using the provincial development plan as a major tool. Also the rural development has embarked on new approach in identifying the common rural area and rural poverty area in order that the priority of development could be concentraded on those rural poverty areas. Suratthani has not rural poverty area. Suratthani is one of the Southern Region’s province which has the largest area and rich of Natural Resources endowment : Forestry mineral, fishery, tourism resources etc. Suratthani’s large land suitable for agriculture and located at the midpoint between Bangkok and Lower Southern Region which has a lot of comfortable communication Not only those reasons but also Suratthani is one of the region,s growth poles city according to the Ministry of Intirior and from the study of National economic and Social Development Board in the Upper-Southern Part development report, recommended an important sole of Suratthani will become a southern base of the seabord industrial development along the Gulf of Thailand and linkage to Eastern Sealsord Industries. All those reasons show the high development potential of Suratthani. In this study has chosen Suratthani as a case study of the guide line study for Suratthani Structure Plan. The objective of this study are:- 1. Physical features of Suratthani 2. Economic, Social, Population and basic service structure and its changes. Potential of Urban and rural Development. 4. Suratthani’s structure of major problem. Methodology 1. Urban hierarchy and Urban development : This study used correlation Matrix for point evaluation which considered from physical, correlation Matrix for point evaluation which considered from physical, economic, social and basic services of those cities for urban hierarchy and Gravity Model for Urban’s himterland. 2. The existing and potential of rural development : In this study used Factor Analysis, according to the 24 variables, their influent factor affected the physical, economic and social base in the spatial development in Suratthani’s rural. This study was computed by computer in SPSS Program. The find out of the study 1, 2 and the important role of Suratthani from The National, Sub-regional planning will show the trend and pattern of development in accordance to the province’s potentiality. Findings. From the studies, the agriculture is the basic production of Suratthani but it growth has a downward trend because of its low productivity and efficiency which come from low intensive cultivation, forestry and fishery have been suffering from over exploitation in recent years. Agriculture developments is mostly on area expansion rather than by technology or resources improvement. Others production; Industries, most of them are Agro-Industries which have undiversified base and its changed only slightly (2521-2525 B.E.) but the opportunity of industrial development is very high because of her rich natural resources and comfortable communication. While Trade and Service growth have upward trend. General peeblir infra structure are sub-standard. Humen settlement and urban hierarchy :- Community system of Suratthani is primate city which Muag Suratthani Municipality is the biggest community of the province Their haven’t intermediate city or minor communities that should function as the real center of rural area around them. The urban heirachy are : 1st order center Muang Suratthani Municipality 2nd order center Thakham Sanitary district (Pun Pin) 3rd order center Ban na som Municipality, Ko Samai and Wiangsa Sanitary district 4th order center Talad Chai Ya Sanitary district 5th order center Thachang, Banna, Kanchanadit, Donsak, Thakanon, Yandindeang, Thathongmai, Pumreang, Thachana, Khiansa, Phanom, Khaowong. For minor communities which are Bam na San municipality, Thakham, Kosmui, Wengsa and Chaiya sanitary districts, They should be self-con-tained nodes of linking and distributing development to other areas. The summary of Rural existing and potentiality of rural development :- Group 1 This is the area of “Conservation forest” because it necessary for erosion control and watershed protections while it existing land use is primary forest. Target areas belong to this category are the area in the west side of Ampoe; Thachana, Chaiya, Thachang, Khiriratthanikom, Bantakhum and Phanom. Group 2, 3, 4 The rural existing of these 3 categories are similar. These are the areas of agriculture and plantation development, its landuse capability belongs to “suitable for tree crop and paddy which its existing land use are low intensiveness. By generally, tumbols in this case are lack of basic service and public infrastructure. The area in this case are in the middle part of the province in Ampoe Muang Suratthani, Punpin, Chaiya, Thachang, Thachana, Kanchanadit, Donsak, Bannasan and King Bannadoem. In the central low land; Khiansa, Wiangsa, Phrasong and King Chaibury. Group 5, 6 In this 2 categories, the existing of rural development are better than 4 groups before. The tumbol in this case have common boundaries with as well as easy access to urban area and they have mighty heigh or heigh in potentiality of industrial development. There are 10 tumbols in this case; Thachana (Thachana), Thakanon (Khiriratthanikom), Banna (King Bannadoem), Ban song (Wiangsa) Angthong and Lipanoi (Kosamui), Watphado, Bang Kung and Makhamtia (Muang) and Thakham (Punpim). The province’s development guidelines Economic espects – Agriculture : to uplift agriculture polentiality of Suratthani by improving quality of production, production process and technology, for example, intensification land use, irrigation, high yield plant. The pattern of agriculture development are 1. Improving land Use structure, the pattern of land development are :- A. Case of “conservation forest and reforestation area” The area is define as watershed conseration function and erosion control. Most of them are in the west side of the province. B. This is a suitable land for productive promotion, productivity should be raised by intensive cultivation all the year long and by introducing irrigation, ferilization. The area in this case are in the plan area around the sea coast and the central low land. C. Aquaculture promotion area, which isto be promoted both in land and sea water. In sea water suitable land for fish farming are the sea side in Ampoe Chaiyo, Thachang, Khanchanadit and Donsak. It’s very important to zoning the aquaculture area because of environment damage. 2. Implanting knowledges of modern production techniques, as well as resources protection and conservation to the agriculturists by taking area differences into consideration. 3. Developing efficient local market system. – Industry. It should be developed together with agricultural production uplifting of the province. Promotion and development on the basis of local resource-based industries such as processing of rubber, palm oil, sea food and fruit canning, and wervicing industries for the resource-based industries. Suratthani side will develop to industrial city by making use of its resource and locational advantages. – Tourism. For tourism promotion and environmental maintenance, it is recommended to enforce the tourism zoning linked with land use control, investment incentive and public, -private cose sharing. Strengthening of TAT is needed. – Social and basis cervice aspicts. 1. To develop and improve public social services like education, public utilities to reach the target by distributing such services to himterland of every cities. 2. To promote people participation in local planning and development. 3. To boost role and function of tambon councils as the local development centers next to ampoes. – Community development. 1. Muang Suratthani Municipality area should be provided for the future important activities to meet the population demand as 2. To promote each sanitary district can help itself, link and distribution the activity of development. Especeally, Thakham sanitary district, Bannasan municipality, Kosamui, Wiangsa and Chaiya sanitary district. This guide line study is some bases for provincial development plan formulation of Suratthani province, according to promoted Suratthani’s one of the regional growth poles city. The project indentification which, as a whole, must be inter related and integrated, under circumstances of many factors, e.g. administration, plan implementation budgeting, serious operation and coordination, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34364
ISBN: 9745645087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buhnga_po_front.pdf15.27 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch1.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch2.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch3.pdf79.59 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch4.pdf25.06 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch5.pdf47.21 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_ch6.pdf14.28 MBAdobe PDFView/Open
Buhnga_po_back.pdf40.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.