Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34724
Title: กระบวนการบริหารงานของผู้บริหารการศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกและภาคกลางตามการรับรู้ ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์
Other Titles: Administrative process of educational administrators under the jurisdiction of the department of vocational education in the eajtern and of the central regions as perceived by educational administrators and teachers
Authors: หาญ จันทร์ศิริ
Advisors: วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผู้บริหารการศึกษา
การตรวจสอบการจัดการ
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารการศึกษาและปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารการศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกและภาคกลาง ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด คือ สำหรับผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบปรับปรุง แก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนำไปทดลองใช้เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ต่อจากนั้นจึงส่งแบบสอบถามจำนวน 473 ฉบับ ไปยังกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา แบบสอบถามได้รับกลับคืน จำนวน 444 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารการศึกษามีการรับรู้ว่าได้ปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารงาน อยู่ในระดับค่อนข้างมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การอำนวยการและการควบคุม ครูอาจารย์มีการรับรู้ว่า ผู้บริหารการศึกษาได้ปฏิบัติงานตามกระบวนการการบริหารงานอยู่ในระดับค่อนข้างมาก สอดคล้องกันกับผู้บริหารการศึกษา 2 ด้าน คือ ด้านการวางแผนและการจัดองค์การแต่ไม่สอดคล้องกัน 3 ด้าน คือ ด้านการจัดเจ้าหน้าที่ การอำนวยการและการควบคุม โดยผู้บริหารการศึกษามีการรับรู้ว่าได้ปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ครูอาจารย์มีการรับรู้ว่าผู้บริหารการศึกษาได้ปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ส่วนปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารการศึกษานั้นผู้บริหารการศึกษามีการรับรู้ว่าการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารงาน มีปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 2 ด้าน คือ ด้านการวางแผนและการจัดเจ้าหน้าที่ และมีปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 3 ด้าน คือ ด้านการจัดองค์การ การอำนวยการและการควบคุม
Other Abstract: The purposes of this research were to study the perception of the educational administrators and teachers for the administrators’ responsibilities and conduction administrative processes and its problems. The researcher had two sets of questionnaires, and one for administrators, and other for teachers. The questionnaires after having been examined and revised by educationers and scholars of the same field, had been tried out for the reliability. Four hundred and seventy-three questionnaires were sent to the total number of populations and samples. Four hundred and forty-four questionnaires or of 93.86 per cent were returned. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The results of study found that : The administrators mostly accepted with the administrative processes : planning, organizing, staffing, directing and controlling. They believed that jobs would be done, if they had strongly concerned on these processes and the teachers accepted with two processes; planning and organizing. The problems that faced the administrators were how to conduct and to follow up two processes; planning and staffing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34724
ISBN: 9745784869
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Harn_ch_front.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_ch1.pdf7.56 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_ch2.pdf24.46 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_ch3.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_ch4.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_ch5.pdf9.6 MBAdobe PDFView/Open
Harn_ch_back.pdf13.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.