Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34809
Title: ผลของวิธีแก้การเดาแบบต่างๆ ที่มีต่อการกระจายของคะแนนค่าความเที่ยง และค่าความตรงของแบบสอบถามแบบเลือกตอบ
Other Titles: The effects of different guessing corrections on score distrebution, relibility, and validity of the multiple choice test
Authors: อดิศร ศรีบุญวงษ์
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีแก้การเดา 5 วิธี ที่มีต่อการกระจายของคะแนน ค่าความเที่ยง และค่าความตรงของแบบสอบเลือกตอบ วิธีเหล่านี้ได้แก่ วิธีให้ผู้สอบตอบและบอกความมั่นใจในการตอบ วิธีให้คะแนนที่ได้จากการนำจำนวนข้อที่ตอบผิดไปหักออกจากจำนวนข้อที่ตอบถูก วิธีให้คะแนนที่ได้จากการนำสัดส่วนของจำนวนข้อที่ตอบผิดไปหักออกจากจำนวนข้อที่ตอบถูก วิธีให้คะแนนที่ได้จากการนำสัดส่วนของจำนวนข้อที่ไม่ตอบไปรวมกับจำนวนข้อที่ตอบถูก และวิธีใช้คำสั่งชี้แจงในการตอบข้อสอบโดยขอร้องไม่ให้เดาแต่ไม่มีการลงโทษแม้จะมีการเดา การวิจัยครั้งนี้ได้กระทำขึ้น 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 เป็นการศึกษาซ้ำ แต่เปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างและเนื้อหาของการสอบ ทั้งนี้เพื่อศึกษาดูว่าการวิจัยจะให้ผลสอบคล้องหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างในครั้งแรกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2532 จากโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม ทำแบบสอบที่วัดในเนื้อหาเรื่องอัตราส่วน และกลุ่มตัวอย่างในครั้งที่ 2 จาก โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ทำแบบสอบที่วัดในเนื้อหาเรื่องปริมาตรรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โรงเรียนละ 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบสัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ค 102) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบตามวิธีแก้การเดามาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกระจาย ค่าความเบ้ ค่าความโด่งแบน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าความเที่ยงและค่าความตรง ผลการวิจัยพบว่า จากวิธีแก้การเดาในการตอบข้อสอบทั้ง 5 วิธี วิธีให้ผู้สอบตอบและบอกความมั่นใจในการตอบ ให้คะแนนที่มีลักษณะการกระจายมาก นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีดังกล่าวให้ค่าความเที่ยงและค่าความตรงของแบบสอบสูงกว่าวิธีแก้การเดาแบบอื่นๆ ที่นำมาศึกษา
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of five different guessing corrections on score distribution, reliability, and validity of the multiple choice test. These methods includes answering by indicating confidence level, scoring by subtracting the number of incorrect response items from the number of correct response items, scoring by subtracting the fraction of the number of incorrect response from correct response items, scoring by adding the number of non-response items to the number of correct response items, and using instruction by asking examinees tested not to guess, but no penalty even though guessing may exist. The study was cross-validated. The second study was replicated by changing the subjects and topic of the content tested in order to investigate whether or not the results from the two studies conformed. The subjects of the first and second studies were Mathayom Suksa One students from Nongnakham Wittayakom School and PueWiang Wittayakom School, respectively. It consisted of 120 students of each school. The instruments of the study were achievement tests of Mathematics (Math 102) which were developed by the researcher. Data were analyzed through use of mean, standard deviation, the coefficients of variation, skewness, kurtosis, correlation coefficients, reliability, and validity coefficients. The results are as follows. Among the five guessing correction methods selected for study, the method of answering by indicating confidence level provided score distribution at the highest level. In addition, it was found that this method yielded the higher reliability and validity coefficients than the others.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34809
ISBN: 9745781185
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adisorn_sr_front.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_ch1.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_ch2.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_ch3.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_ch4.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_ch5.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Adisorn_sr_back.pdf11.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.