Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
dc.contributor.advisorประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
dc.contributor.authorพิมพิไล ทองไพบูลย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-14T05:33:36Z
dc.date.available2013-08-14T05:33:36Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665673
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34992
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเรียนรู้พฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กจากตัวแบบในนิทานประกอบภาพ กับตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับอนุบาลอายุ 4-6 ปี จากโรงเรียนเทพกาญจนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 20 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแยกประเภทตามระดับอายุ และเพศ และวิธีสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มดูตัวแบบในนิทานประกอบภาพ และกลุ่มดูตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือนิทาน 5 เรื่อง ซึ่งแกนของเรื่องเน้นพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเป็นหลัก การทดลองได้เสนอตัวแบบนิทานประกอบภาพและตัวแบบนิทานประกอบหุ่นมือ แก่กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลอง โดยใช้เวลาในการเสนอตัวแบบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 1 เรื่อง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่เสนอตัวแบบจะอยู่ในห้องเรียนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มจะได้รับการประเมินพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองทันที และภายหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ โดยประเมินจากพฤติกรรมการบริจาคท้อฟฟี่ในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบระดับความมีนัยสำคัญ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบภาพ กับกลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือ มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ดูตัวแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบภาพ กับกลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือ มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) กลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือ มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อภายหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ อยู่ในระดับคงที่มากกว่า กลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบในนิทานประกอบภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the learning of generous behavior between picture storybook models and hand puppet models. The subjects were 60 kindergarten children, age 4-6 years, enrolled at Thepkanjana School, Bangkok. The sample was selected by straitified random sampling by age and sex and then devided by simple random sampling into 3 groups : the control group, the picture storybook model group and the hand puppet model group. Each group included 20 children. As a research instrument 5 stories were used where generous behavior was the main theme. This theme was presented through the picture storybook models and the hand puppet models to the 2 experimental groups for five consecutive at the rate of 1 story per day, 15-20 minutes each time. The control group was presented with any model but followed the regular classroom schedule. Generous behavior was measured interms of amount of candies donated by the subjects during the pretest, the immediate post test and 2 week delayed post test. Data were analysed by arithmetic means, standard deviation, one-way ANOVA and t-test (dependent group). Research finding show that : 1) the 2 experimental groups show a greater increase of generous behavior than the control group were found significant at the .05 level ; 2) there is no significant difference between the 2 experimental groups with regards to increase of generous behavior; 3) the hand puppet model group shows more constancy of increase of generous behavior than the picture storybook model group significant at .05 level.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปรียบเทียบการเรียนรู้พฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กจากตัวแบบในนิทานประกอบภาพกับตัวแบบในนิทานประกอบหุ่นมือen_US
dc.title.alternativeA comparison of chileren's learned generous behavior from picture story book model and hand puppet modelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpilai_th_front.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_ch1.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_ch2.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_ch3.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_ch4.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_ch5.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pimpilai_th_back.pdf32.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.