Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35839
Title: การพัฒนาระบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ
Other Titles: A development of and empowerment-based management system for educational service areas offices
Authors: สุริยวิชญา ทรงกลด
Advisors: ปิยพงษ์ สุเมตติกุล
ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวางแผนการศึกษา -- ไทย
นโยบายการศึกษา -- ไทย
โรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย
Educational planning -- Thailand
Education and state -- Thailand
School management and organization -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ (2) พัฒนาระบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยใช้แบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNI [subscript Modified] ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยรวมทุกกลุ่มงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.91 ) และภาพความสำเร็จมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = 3.58 ) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวมทุกกลุ่มงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย = 4.83 ) และภาพความสำเร็จมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย = 4.89 ) 2) ดัชนีชี้วัดความต้องการจำเป็นในพัฒนาระบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ ดังนี้ 1. หลักมาตรฐานความเป็นเลิศ 2. หลักข้อมูลย้อนกลับ 3.หลักฝึกอบรมและพัฒนา หลักฝึกอบรมและพัฒนา 4. หลักความรับผิดชอบ 5. หลักความรู้และ ข้อมูลข่าวสาร 6. หลักความไว้วางใจ 7. หลักการยอมรับในเอกัตบุคคล 8.หลักการให้เกียรติ 9. หลักอนุโลมความผิดพลาด และ 10. หลักอำนาจหน้าที่ 3) ระบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1.ความนำ 2.ชื่อระบบ 3.วัตถุประสงค์ 4.องค์ประกอบของระบบ และ 5. ภาพความสำเร็จ 4) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้
Other Abstract: This research has 2 objectives (1) To analyze the current situation and desirable situation of empowerment– based management system for educational system service areas offices; (2) To develop and empowerment–based management system for educational system service areas offices. This is a mixed method research of quantitative and qualitative approach. The quantitative approach included the analyze the current situation and desirable situation of empowerment– based management system for educational system service areas offices. The questionnaire was used as the research instrument. The data analysis employed descriptive statistics, and the analysis to obtain priority need applied the technique called Modified Priority Needs Index (PNI [subscript Modified]). The qualitative approach was undertaken in the reviewed for relevancy by expert and focus group discussion. Major results revealed that: 1) The current situation of empowerment– based management system for educational system service all department mean average in middle level (mean = 3.23) and successful image average in maximum level. The part of desirable situation of empowerment– based management system for educational system service areas offices; all department mean average in maximum level (mean = 3.58) and successful image average in maximum level. (mean = 4.84 ) 2) The Priority Needs Index in a development of an empowerment– based management system for educational system service areas offices .The order is as follows; 1. Standard of excellence 2. Feedback 3. Responsibility 4. Trust 5.Recognition 6.Respect 7.Permission to fall 8. Authority 9.Knowledge and information and 10. Training and development 3) The empowerment– based management system for educational system service areas offices consists of 5 components which are: 1.Introduction 2. System name 3.Objective 4. Element of system and Successful image. 4) System development examined result by expert has shown appropriment and possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35839
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.624
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.624
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suriyawitchaya_so.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.