Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35845
Title: การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ตามกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการ ในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
Other Titles: Development of an intelligent computer-assisted instruction design model using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability on classroom action research
Authors: กอบสุข คงมนัส
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Sugree.R@chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนแบบอัจฉริยะ
การให้คำปรึกษา
วิจัยปฏิบัติการ
Intelligent tutoring systems
Counseling
Operations research
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูประจำการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจสภาพและปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน จำนวน 312 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบประเมินตนเอง และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา 2) กลุ่มเป้าหมายคือ ครูประจำการที่ไม่สามารถให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3) ทรัพยากรที่ใช้ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ได้แก่ 3.1) บุคลากร ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเรื่องการให้คำปรึกษาและการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน นักออกแบบการเรียนการสอนและนักเขียนโปรแกรม 3.2) ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ 4) เนื้อหา ได้แก่ 4.1) ปัญหาการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประจำการ 4.2) กรณีศึกษาด้านการเรียนการสอนที่ต้องแก้ไขด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4.3) ความสามารถในการให้คำปรึกษา ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 4.4) ความรู้เรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 5) โครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา มี 5 ส่วน คือ 5.1) ส่วนความเชี่ยวชาญความรู้ เป็นฐานความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความสามารถในการให้คำปรึกษา 5.2) ส่วนกลยุทธ์การให้คำปรึกษา เป็นส่วนควบคุมการแสดงความรู้และกลยุทธ์การเรียนการสอนตามกระบวนการให้คำปรึกษา 5.3) ส่วนวินิจฉัย เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยการตอบสนองของครูผู้รับคำปรึกษา 5.4) ส่วนแบบจำลองผู้รับคำปรึกษา เป็นการจัดเก็บข้อมูลครูผู้รับคำปรึกษา แสดงระดับความรู้ปัจจุบัน และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของครูผู้รับคำปรึกษา และ 5.5) ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้รับคำปรึกษากับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา ได้แก่ 1) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3) กำหนดเนื้อหาการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4) กำหนดรูปแบบการนำเสนอตามกระบวนการให้คำปรึกษา 5 ขั้นตอน คือ 4.1) ขั้นระบุปัญหา เป็นขั้นยืนยันปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและปัญหาความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูผู้รับคำปรึกษา 4.2) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหา เป็นขั้นที่บทเรียนช่วยสอนแบบอัจฉริยะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้ครูผู้รับคำปรึกษา 4.3) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา เป็นขั้นครูผู้รับคำปรึกษาดำเนินการแก้ปัญหาหรือศึกษาเนื้อหา 4.4) ขั้นประเมินผลการให้คำปรึกษา เป็นขั้นประเมินผลการแก้ปัญหาของครูผู้รับคำปรึกษาและผลการให้คำปรึกษาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ 4.5) ขั้นยุติการให้คำปรึกษา 5) กำหนดผังงานการให้คำปรึกษา และ 6) กำหนดเส้นทางการเรียน องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีคะแนนความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และคะแนนความรู้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To develop an intelligent computer-assisted instruction (ICAI) design model using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability in classroom action research (CAR). The samples were inservice teachers from the basic education in the northern of Thailand. They were stratified sampling into two groups 1) 312 inservice teachers for the survey study on conditions and problems of CAR and CAR consulting ability and 2) 30 inservice teachers for the experimental testing. The research instruments were questionnaires, pretest and posttest, assessment form for experts, and self-assessment form for inservice teachers. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1. The intelligent computer-assisted instruction design model using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability in classroom action research consisted of three elements: 1. Input: 1) Objective of ICAI using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability in CAR; 2) Target group is inservice teachers who have deficiencies in CAR consulting ability; 3) Resources for ICAI design: 3.1) Peopleware: content experts, instructional designers and programmers and 3.2) Software and Hardware; 4) Content: 4.1) consulting problems, 4.2) case study concerning learning problems to be solved by CAR process, 4.3) CAR consulting ability, and 4.4) CAR knowledge; 5) the structure of an ICAI using consultation process containing five modules: 5.1) knowledge expertise module represents the domain knowledge and problem solving knowledge of CAR and CAR consulting ability, 5.2) consulting strategy module controls over the presentation of the knowledge for selecting and sequencing the knowledge using consultation process, 5.3) diagnosis module diagnoses consultee responses by rules base model, 5.4) consultee module records consultee’ information, current knowledge level, knowledge of the situation, errors and misunderstandings, and 5.5) user interface module controls interactions between consultee and ICAI; 2. Development process of ICAI using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability in CAR consisted of six steps: 1) design learning objectives, 2) identify learner, 3) design content of CAR consulting, 4) design learning techniques with five stages of consultation process: 4.1) Problem Identification stage to confirm problems on CAR and consulting ability of consultees, 4.2) Solution stage to present how to solve problems by ICAI, 4.3) Problem solving stage to have consultee solves his or her problems and performs learning activities, 4.4) Evaluation stage to evaluate consultee problem solving solutions and ICAI consulting results, and 4.5) Termination stage to finish the consultation process; 5) design consultation flowchart for programming; and 6) design learning path; 3. Output of the ICAI using consultation process to enhance inservice teachers’ consulting ability in CAR. 2. There were statistical significant differences at .05 level between consulting ability on CAR pretest and posttest scores and knowledge of CAR pretest and posttest scores of inservice teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35845
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.627
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.627
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kobsook_ko.pdf46.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.