Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36049
Title: ความต้านการแตกในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันที่มีปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่ แตกต่างกันหลังจากเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับการบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปและชนิดของเรซินคอมโพสิตที่แตกต่างกัน
Other Titles: Fracture resistance of endodontically treated teeth with various thickness of dentinal wall restored with different resin composites
Authors: สิริลักษณ์ เจริญวิริยะกุล
Advisors: แมนสรวง อักษรนุกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Mansuang.A@Chula.ac.th
Subjects: คลองรากฟัน -- การรักษา
ทันตกรรมบูรณะ
เรซินทางทันตกรรม
Dental pulp cavity -- Treatment
Dentistry, Operative
Dental resins
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงต้านการแตกและรูปแบบการแตกในแนวดิ่งของฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันและมีปริมาณเนื้อฟันเหลือโดยรอบแตกต่างกันหลังจากที่บูรณะด้วยเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยควอทซ์โดยใช้เรซินซีเมนต์เป็นตัวยึดร่วมกับการสร้างแกนฟันด้วยเรซินคอมโพสิต รวมทั้งเปรียบเทียบชนิดของเรซินคอมโพสิตและเรซินซีเมนต์ที่ต่างชนิดกัน วิธีการโดยนำฟันกรามน้อยล่างซี่ที่สองจำนวน 70 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวราก 15 มม. รักษารากฟันและอุดด้วยวิธีเเลเทอรอลคอนเดนเซชัน การศึกษานี้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน ตอนที่1 เปรียบเทียบปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ปริมาณเนื้อฟันพอดีกับเดือยสำเร็จรูปและมีปริมาณเนื้อฟันโดยรอบ 2 1.5 และ 1 มม.ตามลำดับ ทำการบูรณะด้วยเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยควอทซ์ดีทีไลท์โพสต์ เบอร์ 1 ร่วมกับการใช้ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีเรซินซีเมนต์ในการยึดและสร้างแกนฟันด้วยมัลติคอร์โฟลว์เรซินคอมโพสิต ตอนที่ 2 ศึกษาในฟันที่ปริมาณเนื้อฟันเหลือโดยรอบ 1 มม.เท่ากัน เปรียบเทียบระหว่างมัลติคอร์โฟลว์เรซินคอมโพสิตและเรซินคอมโพสิตที่ผลิตเพื่อการทดลอง ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการไม่ใช้เรซินซีเมนต์ และใช้ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีเรซินซีเมนต์และพานาเวียร์เอฟทูเรซินซีเมนต์ ในฟันที่ปริมาณเนื้อฟันเหลือโดยรอบ 1 มม.เท่ากันและสร้างแกนฟันด้วยมัลติคอร์โฟลว์เรซินคอมโพสิต โดยให้มีขนาดแกนฟันเท่ากันทุกกลุ่ม ทดสอบแรงต้านการแตกในแนวดิ่งด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล บันทึกแรงที่ทำให้เกิดการแตกมีหน่วยเป็นนิวตัน และสังเกตรูปแบบการแตกหักที่เกิดขึ้น ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของแรงที่ทำให้เกิดการแตกของชิ้นตัวอย่างและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่เปรียบเทียบปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่แตกต่างกันและชนิดของเรซินคอมโพสิตที่ต่างชนิดกันพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) ตอนที่ 3 เปรียบเทียบค่าแรงต้านการแตกของการใช้เรซินซีเมนต์พบว่า กลุ่มที่ไม่ใช้เรซินซีเมนต์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)เมื่อเปรียบเทียบกับซูปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีเรซินซีเมนต์ และเมื่อเปรียบเทียบเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิดพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) และรูปแบบการแตกหักประมาณร้อยละ 50-80 ของรูปแบบการแตกทั้งหมดเกิดที่แกนฟันบริเวณรอยต่อของเดือยและแกนฟัน ยกเว้น กลุ่มที่ไม่ใช้เรซินซีเมนต์มีรูปแบบการแตกอยู่ที่ภายในแกนฟันเพียงอย่างเดียว จึงสรุปได้ว่า แรงต้านการแตกในแนวดิ่งของฟันที่มีปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่โดยรอบแตกต่างกันและการใช้เรซินคอมโพสิตและเรซินซีเมนต์ที่ต่างชนิดกันมีความแตกแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ส่วนการบูรณะโดยไม่ใช้เรซินซีเมนต์จะทำให้ค่าแรงต้านการแตกในแนวดิ่งต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ซูปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เรซินซีเมนต์(p<0.05) และรูปแบบการแตกที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่สามารถกระทำการซ่อมแซมและบูรณะได้
Other Abstract: This objective of this study was to compare the fracture resistance of endodontically treated teeth which had various dentinal wall thickness restored with fiber reinforced post and different resin composites and different resin cements. Endodontic preparation was performed on seventy mandibular second premolars. The tooth was decoronated and divided into 7 groups (n=10). Group 1 : dentinal wall was prepared correspond to D.T.Light post No.1. Group2, 3, and 4 had remaining dentinal wall thickness about 2 mm, 1.5mm and 1mm, respectively. All of the groups were restored with No.1, D.T.Light post and Multicore flow resin composite and Super-Bond C&B resin cement as luting agent. Group 5: remaining dentinal wall was about 1 mm and restored as group 1-4, except resin composite foundation used was experimental composite. Group 6 and 7: remaining dentinal wall was about 1 mm and restored as group 1-4 except Panavia F2 and no resin cement were used, respectively. Specimens were mounted in acrylic blocks with a 0.2 mm layer of silicone sealant covering the root. The vertical load was applied on the top of the specimen with cross head speed of 2 mm/min. Fracture resistance was measured on a universal testing machine. The fracture load in N of all groups were analyzed using ANOVA at p<0.05 to compare group 1-4 and Independent samples test was used to compare between group 4 and 5. Robust test of quality of mean (Welch) at p<0.05 was used to compare group 4, 6, 7. Various dentinal wall thickness, different resin composites and resin cement did not affect fracture resistance. Group 7 was statistically significant lower than group 4 (p<0.05). Fracture mode were similar among groups 1 to 4 and 6. Fracture mode was commonly found within core and between resin composite and dentin about 50-80%. In group 7 fracture mode was found only within core. The present study concluded that fracture resistance of endodontically treated teeth with various thickness of dentinal wall restored with different resin composites were not statistically significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36049
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.861
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.861
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriluk_ch.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.