Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36098
Title: นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างบ้านลอยน้ำ
Other Titles: An innovative design and construction of floating house
Authors: อภิชิต กมลสันติสุข
Advisors: สุนทร บิญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: การสร้างบ้าน
วิถีชีวิตแบบยั่งยืน
บ้านลอยน้ำ
ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง
บ้านบนน้ำ -- การออกแบบและการสร้าง
House construction
Sustainable living
Floating house
Dwellings -- Design and construction
Houseboats -- Design and construction
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในอดีตพื้นที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งน้ำไหลผ่านได้สะดวกในช่วงฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำท่วมจึงมีระดับเพียง 1.00 - 1.20 เมตร ดังนั้นบ้านไทยในอดีต จึงมีลักษณะยกใต้ถุนสูง 1.50-1.80 เมตร รวมถึงความสูงของคนไทยโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1.80 เมตร จึงทำให้ความสูงของใต้ถุนบ้านทรงไทยสูงเพียงพอและเหมาะสมกันคนไทย เมื่อน้ำท่วม บ้านเรือนไทยก็ยังสามารถใช้งานได้ จากกรณีที่น้ำท่วม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา พบว่าน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 - 1.80 เมตร จนบางพื้นที่ น้ำท่วมสูงถึง 3.00-4.00 เมตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ดังนั้นบ้านทรงไทยในอดีตจึงไม่ใช่คำตอบของการอยู่อาศัยในอนาคตของพื้นที่ ที่มีโอกาสประสบปัญหาน้ำท่วมอีกต่อไป การเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เป็นเพียงสัญญาณบอกถึงความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาตัวแปร การออกแบบบ้านลอยน้ำโดยระบบทุ่นที่มีเสถียรภาพการลอยที่ดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก ราคาไม่แพง กันความร้อน ความชื้นได้ดี และก่อสร้างรวดเร็ว ผนวกเทคโนโลยีผลิตพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ทำให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง เกิดรูปแบบการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน (sustainable living) 2. วิเคราะห์ คัดเลือกตัวแปรโดย ศึกษา เปรียบเทียบในด้านรูปทรง วัสดุ ราคา ระยะเวลา ขั้นตอนการก่อสร้าง การลดภาระการทำความเย็น และผนวกการใช้พลังงานทดแทน เพื่อนำมาเป็นข้อกำหนดในการออกแบบ นวัตกรรมบ้านลอยน้ำ 3.เพื่อก่อสร้างบ้านลอยน้ำ เพื่อทดสอบตัวแปร 4. ประเมิน และสรุปผลการวิจัย ผลที่ได้จากการวิจัย คือผลการศึกษาตัวแปร หลักการออกแบบและก่อสร้างบ้านลอยน้ำระบบทุ่นขนาด 25.2 ตารางเมตร ที่มีระยะจมฐานอาคารเท่ากับ 6.80 เซนติเมตร ระยะจุดศูนย์ถ่วงที่ 1.14 เมตร ขณะที่บ้านพักทั่วไปมีระยะจุดศูนย์ถ่วงที่ 1.50 เมตรกรณีความสูงอาคารเท่ากัน (3เมตร) สามารถรับน้ำหนักบรรทุกมากที่สุด 7 ตัน โดยรับน้ำหนัก 295 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร ซึ่งบ้านลอยน้ำนี้ มีราคาค่าวัสดุประมาณ 459,705 บาท ระยะเวลาการก่อสร้างไม่เกิน 7 วัน สามารถลอยน้ำและเคลื่อนที่ได้ในยามน้ำท่วม ประหยัดภาระในการทำความเย็นกว่าบ้านพักทั่วไป 14 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไป และใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด 125 วัตต์ 6 แผง ในการผลิตไฟฟ้าให้กับตัวบ้านซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบสาธารณูปโภคจากภายนอก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพิจารณาที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ในอนาคต
Other Abstract: In the past, the landscape in Thailand was agricultural plains and rice paddies, which was a floodway for water level that was as high as 1.00-1.20 meters. The height from the ground floor of Thai-style houses to the ground is 1.50-1.80 meter. So Thai-style houses was suitable for living during flood periods. During the flooding in 2011, the water level was as high as 3–4 meters which increasing in severity over the coming years. The objectives of the research are as follows: 1) To gather data and analyze the variables related to the stability of floating houses that are practical to use and integrate the technology to generate renewable energy, resulting in sustainable living. 2) To analyze, derive specifications for floating houses with good stability of floating, reasonable cost, safe energy for cooling load, good heat and humidity control, able to be constructed in a short period of time. 3) To construct a floating house, analysis and to draw conclusions of the research findings. 4) To evaluate the result of this research and conclusions. The results of the research are conclusions of the variables, criteria of design and construction for floating house (25.2 m²) which have 1.14 meters of gravity point (total height 3 meters). The house can be able to bear maximum 7 tons weight, with 295 kg / m². The price is approximately 459,705 baht, can able to be constructed in 7 days and it save about 14 times of electrical energy for air conditioner compare to regular house. The roof-integrated with 125 Watts of 6 solar panels to generate electricity power without using outside resources which will become a great start to consider for future living.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36098
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.713
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.713
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apichit_ka.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.