Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36933
Title: การประเมินการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลยางฮอม จังหวัดเชียงราย และเทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The evaluation of appropriate environments for the elderly : a case study of Yanghorm, Chiangrai province and Nongthongpattana, Chiangmai province
Authors: ฝนทิพย์ ชูประเสริฐ
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.j@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- เชียงใหม่ -- ตำบลหนองตองพัฒนา
ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- เชียงราย -- ตำบลยางฮอม
ที่อยู่อาศัย -- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม
Older people -- Dwellings -- Thailand -- Chiang Mai -- Nongthongpattana
Older people -- Dwellings -- Thailand -- Chiang Rai -- Yanghorm
Dwellings -- Environmental engineering
Environmental management
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยด้านการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ มีผู้ทำการศึกษาอยู่จำนวนมาก แต่ขาดการติดตามและประเมินผล โดยการติดตามและประเมินผลมีเพื่อให้ทราบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน อันนำไปสู่การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ยิ่งขึ้น โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจ ประชากร และสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาปี พ.ศ. 2553 - 2555 ของพื้นที่เทศบาลตำบลยางฮอม จังหวัดเชียงราย กับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำมาสู่การเสนอแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้มีขอบเขตการประเมินผลเฉพาะในด้านการประเมินผลการดำเนินงานโครงการเท่านั้น และมีขอบเขตของประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ทั้งสิ้น 220 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาประการหนึ่งของโครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่ผ่านมา ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้ใช้งานจริง กล่าวคือ โครงการมีวิธีการวางแผนในลักษณะการสั่งการลงมาจากผู้นำชุมชน โดยนโยบายและเงินสนับสนุนมาจากทางภาครัฐเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว เบ็ดเสร็จ แต่ผลการดำเนินงานไม่สอดคล้องต่อการใช้งานจริง โดยจากการทำแบบสอบถามสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนที่ผู้สูงอายุมีการเข้าใช้บ่อยครั้ง ได้แก่ ศาสนสถาน, โรงพยาบาล/สถานพยาบาล และศูนย์อเนกประสงค์ผู้สูงอายุ พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ตอบสนองต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ ในด้านสภาพที่ทรุดโทรม, ตำแหน่งที่ตั้ง, ความสะดวกสบายและความปลอดภัยต่อการใช้งาน รวมถึงความพึงพอใจต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ ในโครงการด้านการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ จากการสัมภาษณ์และทำแบบสอบถาม พบว่า การปรับปรุงส่วนใหญ่คือ ห้องน้ำและบันได ซึ่งไม่สอดคล้องต่อพื้นที่ที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ คือ บริเวณรอบบ้าน และปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้การปรับปรุงยังคงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากการไม่เข้าใจแบบการก่อสร้างของช่างก่อสร้างชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความรู้ช่างก่อสร้างจากหน่วยงานท้องถิ่นในการปรับปรุง รวมถึงการเล็งเห็นความสำคัญของงานด้านผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ข้อเสนอแนะในการศึกษานี้ คือ โครงการควรมีลักษณะการวางแผน ซึ่งมาจากความต้องการและลักษณะการใช้งานจริงของผู้สูงอายุ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้ริเริ่ม และให้ความรู้ในด้านผู้สูงอายุเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของงานด้านผู้สูงอายุ รวมถึงการให้ความรู้ในด้านวิธีการปรับปรุงให้ถูกต้องตามมาตรฐานการใช้งานแก่ช่างของหน่วยงานท้องถิ่นนั้นๆ และควรเน้นการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนในพื้นที่ที่ผู้สูงอายุเข้าใช้งานบ่อยๆเช่น ศาสนสถาน, โรงพยาบาล, ตลาดสดในระดับตำบล เป็นลำดับต้นๆก่อนสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนประเภทอื่นๆ ซึ่งแนวทางการแก้ไขดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ศึกษากลายเป็นพื้นที่ต้นแบบทางด้านผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ สำหรับการต่อยอดงานวิจัยนี้คือการประเมินในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้เราทราบข้อจำกัดของโครงการได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: There has been much research into housing improvements and the provision of appropriate environments for the elderly, but not specifically into monitoring and evaluation. The monitoring and evaluation process can enables us to ascertain efficiency and effectiveness. This research has as its objective the study of social and economic affairs, the population and dwellings using the monitoring and evaluation process under the Yanghorm, Chiangrai Province and Nongthongpattana, Chiangmai Province's 3 year development plan (2010-2012 C.E.). The scope of evaluation focuses on product evaluation and the target group was elderly (60 years up), totaling 220 persons. The results indicate that the problem of the provision of appropriate environments for the elderly is not given precedence in elderly requirements. Normally, the provision of environments for the elderly has top-down planning management with government policy and financial support as the main and most efficient means; however, the results are inconsistent with the practical need of the elderly. The survey of facilities in communities reveals that the elderly often require access to temples, hospitals or clinics and that the multi-purpose center does not respond to the elderly in a dilapidated condition, in a inappropriate location, inconvenient and unsafe for use. Housing improvement for the elderly based on interviews and the survey indicate that most improvements are needed in the bathroom and stairs which is inappropriate for the elderly who are accident-prone around the house. Another problem is the lack of standards in improvements due to misunderstanding on the part of construction of the community builder resulting from the knowledge of the local builders for improvements. This includes recognizes the importance of the elderly in local government. The suggestion of this study is that the project should have a plan based on the actual use and requirements of the elderly. The local government section is extremely important as acting as an innovator and knowledge-provider of the elderly for people to recognize the importance of the elderly including the knowledge of improvement standards. Areas should focus on improving community facilities frequently used such as temples, hospitals, and markets in the Tumbon district. This solution will enable Yanghorm, Chiangrai Province to be a prototype of housing improvement and the provision of an appropriate environment for the elderly. Further study is needed to evaluate in terms of policy planning and implementation. This will enable us to further our knowledge into the limits of the project.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36933
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1065
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1065
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fonthip_ch.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.