Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3732
Title: การรับรู้ การแปลความหมาย การจดจำ และอารมณ์จากการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของคนหูหนวก
Other Titles: Perception, interpretation, retention and emotion of deafs' television exposure
Authors: วลัยลักษณ์ คงนิล, 2520-
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้
โทรทัศน์กับคนหูหนวก
คนหูหนวก
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของคนหูหนวกในด้าน การรับรู้ การแปลความหมาย การจดจำ และอารมณ์ และชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ ในด้านการรับรู้ การแปลความหมาย การจดดจำ และอารมณ์ระหว่างคนหูหนวกกับคนหูปกติ รวมทั้งศึกษาถึงลักษณะเฉพาะของคนหูหนวกที่มีผลต่อพฤติกรรมจากการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคนหูหนวกและคนหูปกติที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา จำนวนกลุ่มละ 60 คน ในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการทดลองและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ทำการประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS Window และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบความแตกต่างด้วย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. คนหูหนวกมีความสามารถในการรับรู้ การแปลความหมายและการจดจำสารจากสื่อโทรทัศน์ได้ รวมทั้งมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก แต่ไม่ชัดเจนนัก โดยจะแสดงออกตามความเข้าใจเท่านั้น 2. เมื่อเปรียบเทียบกับคนหูปกติทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา พบว่า คนหูปกติมีความสามารถในการรับรู้ การแปลความหมาย และการจดจำดีกว่าคนหูปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นในระดับอุดมศึกษา ที่ความสามารถด้านการจดจำของคนสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ลักษณะเฉพาะของคนหูหนวก มีผลทำให้คนหูหนวกมีการรับรู้ การแปลความหมาย และการจดจำสารจากสื่อโทรทัศน์ด้อยกว่าคนหูปกติ ในขณะที่การแสดงออกทางอารมณ์มีความคล้ายคลึงกัน
Other Abstract: The objectives of the research were to study the deafs' television exposure in perception, interpretation, retention and emotion, to indicate the differences of perception, interpretation, retention and emotion from television exposure between the deaf and the normal, as well as to investigate the significance of the deaf that affects the television exposure behaviors. The study samples consisted of 60 deafs and 60 normal hearing-people, studying in lower secondary, upper secondary and teriary level. Employing quantitative research method, the data for the study were compiled through an experiment and non-participated observation. The mean, percentage, t-test and one-way analysis of variance (ANOVA) statistics in SPSS Window were used in the data analyis. The research findings were as follow: 1. The deaf were able to perceive, interpret and retain messages from television. However, the emotion observed through the expression of overt behavior was not obviously found. 2. The comparing between the deaf and the normal in lower secondary, upper secondary and tertiary level showed that the normal was signficantly more capable of the perception, interpretation and retention from television exposure than the deaf. The exception in tertiary level was that the two groups were not significantly different in retention capability. 3. The significance of the deaf affected less capable of the perception, interpretation and retention from television exposure, comparing with the normal. However, the emotional expression of the two groups was similar
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3732
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.280
ISBN: 9743349901
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.280
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Walailak.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.