Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37385
Title: การย่อยสลาย 17 แอลฟา – เมทิลเทสโทสเตอโรนด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต
Other Titles: Degradation of 17α – methyltestosterone by ultraviolet radiation
Authors: กัตตินาฎ สกุลสวัสดิพันธ์
Advisors: อรอนงค์ ลาภปริสุทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: onanong.l@chula.ac.th
Subjects: 17 แอลฟา–เมทิลเทสโทสเตอโรน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
เมทิลเทสโทสเตอโรน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
การย่อยสลายด้วยแสง
17α-Methyltestosterone -- Biodegradation
Methyltestosterone -- Biodegradation
Photodegradation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: 17 แอลฟา – เมทิลเทสโทสเตอโรน หรือ MT เป็นสเตอรอยด์ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมนำ MT มาใช้ในการแปลงเพศปลานิล โดยนิยมแปลงเพศปลานิลเพศเมียให้กลายเป็นเพศผู้ ซึ่ง MT จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ และยังพบว่า MT เป็นสารรบกวนฮอร์โมนทำให้เกิดความผิดปกติต่อการทำงานในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสลาย MT ด้วยแสงยูวี โดยมีความเข้มข้น MT เริ่มต้น 100 ไมโครกรัมต่อลิตร ทำการฉายแสงด้วยหลอด UV-A กำลังวัตต์ 18 และ 40 วัตต์ หลอด UV-B กำลังวัตต์ 10 18 และ 36 วัตต์ และ หลอด UV-C กำลังวัตต์ 10 20 และ 40 วัตต์ ทำการวิเคราะห์โดยการเพิ่มความเข้มข้น MT ด้วยกระบวนการ Solid – Phase Extraction (SPE) วัดความเข้มข้นด้วยเครื่องแยกวิเคราะห์สารประสิทธิภาพสูง (HPLC) และศึกษาแนวโน้มการออกซิเดชันหลังการฉายแสงโดยวัดค่าโออาร์พี จากการศึกษาพบว่า UV-C กำลังวัตต์ 40 วัตต์ สามารถสลาย MT ได้มากที่สุด โดยความเข้มข้น MT ในตัวอย่างลดลงต่ำกว่า 3 ไมโครกรัมต่อลิตร ภายในเวลา 8 นาที และเมื่อคำนวณค่าทางจลนพลศาสตร์ พบว่าเป็นปฏิกิริยาลำดับที่ 1 โดยมีค่าคงที่การเกิดปฏิกิริยาคือ 0.511 ต่อนาที นอกจากนี้เมื่อทำการเพิ่มกำลังวัตต์ของหลอดยูวี พบว่าอัตราการสลาย MT จะมากขึ้นตามกำลังวัตต์ที่เพิ่มขึ้น โดย UV-C กำลังวัตต์ 10 วัตต์ เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที มีความเข้มข้น MT เหลืออยู่ในตัวอย่างร้อยละ 12.41 สำหรับกำลังวัตต์ 20 และ 40 วัตต์ ความเข้มข้น MT ในตัวอย่างลดลงต่ำกว่า 3 ไมโครกรัมต่อลิตร ภายในเวลา 15 และ 8 นาที ตามลำดับ จากผลการวัดค่าโออาร์พี พบว่าเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นค่าโออาร์พีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มการเกิดออกซิเดชัน และเมื่อพิจารณาพันธะของ MT พบว่าพันธะส่วนมากดูดกลืนแสงได้ดีในช่วงยูวีโดยเฉพาะ UV-C ดังนั้นกลไกการสลายของ MT มีแนวโน้มการเกิดร่วมกันจากทั้ง 2 กลไก คือกระบวนการโฟโตไลซิสและกระบวนการออกซิเดชัน
Other Abstract: 17α-methyltestosterone or MT is an anabolic steroid which has function similar to testosterone. Most fish farmers are used MT to modify sex of Nile tilapia from female to male. MT is a human carcinogen and also acts as an endocrine disrupting compound, which may disturb the normal functions of endocrine and reproductive systems of aquatic animals. This study was to investigate the degradation of MT using UV radiation. The initial concentration of MT was 100 micrograms per liter. The irradiation with UV-A (18 and 40 watt) UV-B (10 18 and 36 watt) and UV-C (10 20 and 40 watt) respectively. Samples were extracted by Solid – Phase Extraction and analyzed by HPLC. Additionally, the oxidation trend after irradiation were measured by ORP. The results showed that irradiation with UV-C at 40 watts gave the most MT degradation. MT was reduced to less than 3 micrograms per liter in 8 minute. The degradation of MT was found to be first order reaction with the reaction constant of 0.511 per minute. When increased the power of UV lamp, it was found that the degradation rate tended to be increased. After 30 minutes of irradiation by UV-C lamp at 10 watts, the remaining concentration of MT was 12.41 percent. For 20 watt and 40 watts of UV-C irradiation, MT concentrations reduced to be lower than 3 micrograms per liter in 15 and 8 minutes, respectively. The ORP results tended to increase with irradiation time which might show the potential of oxidation reaction. Considering the chemical bonds of MT, it could be observed that most of chemical bonds could absorbed UV especially in UV-C range. As a result, the possible mechanism of MT degradation might be a co-reaction of photolysis and oxidation process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37385
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1077
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1077
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kattinat_sa.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.