Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38838
Title: ผลของอุณหภูมิและโลหะหนักบางชนิดที่มีต่อการเจริญ ของเอมบริโอถึงตัวอ่อน ระยะพลูเทียสของหอยเม่น (Temnopleurus toreumaticus)
Other Titles: Effects of temperature and heavy metals on the embryonic development of sea-urchin (Temnopleurus toreumaticus) to pluteus stage
Authors: วัฒนา ไวยนิยา
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้มีการ่ศึกษาผลของอุณหภูมิต่อความเป็นพิษของโลหะหนัก 5 ชนิด คือ ปรอท, ทองแดง สังกะสี, ตะกั่ว และแคดเมี่ยม ต่อการเจริญของเอมบริโอถึงตัวอ่อนระยะพลูเทียสของหอยเม่น (Temnopleurus toreumaticus) การทดลองขั้นแรก ศึกษาความเป็นพิษของโลหะหนักทั้ง 5 ชนิด ต่อการปฏิสนธิของหอยเม่นที่สาม อุณหภูมิ ผลปรากฏว่า ที่อุณหภูมิ (28 องศาเซลเซียส) ความเป็นพิษเริ่มแรก Threshold toxicity) ของ ปรอท, ทองแดง, สังกะสี, ตะกั่ว และ แคดเมี่ยม มีค่า 0.31, 0.33, 0.35, 4.69 และ 24.11 ppm ตามลำดับ อุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ (33 องศาเซลเซียส) มีผลทำให้ความเป็นพิษเริ่มแรกของโลหะหนักทั้ง 5 เพิ่มขึ้น และที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ (23 องศาเซลเซียส) มีผลทำให้ความเป็นพิษเริ่มแรกของโลหะทั้ง 5 ต่ำลง การทดลองขั้นที่สอง ศึกษาผลของอุณหภูมิอย่างเดียว และผลของอุณหภูมิกับโลหะหนักทั้ง 5 ต่อการเจริญของหอยเม่น ตั้งแต่ก่อนและหลังการปฏิสนธิจนถึงระยะพลูเทียส ผลปรากฏว่า ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิในน้ำทะเลปกติ และเอมบริโอถูกนำมาเลี้ยงต่อในน้ำทะเลปกติ โดยไม่มีโลหะหนัก (ปรอท, ทองแดง, สังกะสี, ตะกั่ว และแคดเมี่ยม) มาเกี่ยวข้อง สามารถเจริญได้ถึงระยะพลูเทียส ที่อุณหภูมิ 23 และ 28 องศาเซลเซียส ส่วนที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เอมบริโอจะเจริญได้ถึงระยะ blastula เท่านั้น ส่วนไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิในน้ำทะเลปกติ และเอมบริโอถูกนำมาเลี้ยงต่อในน้ำทะเลที่มีโลหะหนัก (ปรอท, ทองแดง, สังกะสี, ตะกั่ว และแคดเมี่ยม) กับไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิในน้ำทะเลที่มีโลหะหนัก และ เอมบริโอถูกนำมาเลี้ยงต่อในน้ำทะเลที่มีโลหะหนัก ให้ผลไม่แตกต่างกันเมื่อใช้ความเข้มข้นของปรอท 0.36 ppm 23, 28 และ 33 องศาเซลเซียส พบว่าเอมบริโอเจริญได้ถึงระยะ blastula เท่านั้น แล้วตายหมดภายในเวลา 15, 12 และ 9 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส โดยใช้ความเข้มข้นของทองแดง 0.38 ppm สังกะสี 0.40 ppm ตะกั่ว 5.44 ppm และแคดเมี่ยม 27.56 ppm ตัว อ่อนสามารถเจริญถึงระยะพลูเทียส โดยมีตัวอ่อนที่ผิดปกติโดยเฉลี่ยร้อยละ 22.57, 20.89, 18.30 และ18.00 ตามลำดับ ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าปกติ (23 องศาเซลเซียส) พบว่าระยะพลูเทียสที่ผิดปกติ มีจำนวนน้อยกว่าที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ส่วนที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ (33 องศาเซลเซียส) พบว่าเอมบริโอเจริญถึงแค่ระยะ blastula เท่านั้น ผลการทดลองครั้งนี้ สรุปได้ว่าความเป็นพิษของโลหะเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ ปรอท > ทองแดง > สังกะสี > ตะกั่ว > แคดเมี่ยม และอันดับความเป็นพิษของโลหะหนักเหล่านี้ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ความเป็นพิษของโลหะหนักมากขึ้น และเมื่ออุณหภูมิต่ำลง มีผลทำให้ความเป็นพิษของโลหะหนักน้อยลง
Other Abstract: This investigation was undertaken to determine the effect of temperatures on the toxicity of five heavy metals namely, Hg, Cu, Zn, Pb, and Cd on the embryonic development (from fertilization to pluteus stage) of sea urchin Temnopleurus Toreumaticus) Firstly, the investigation aimed at determining the toxicity of the five metals on fertilization of sea urchin eggs at three levels of temperature. It was found that at the ambient temperature (28℃), the threshold toxicity of Hg, Cu, Zn, Pb and Cd were 0.31, 0.33, 0.35, 4.69 and 24.11 ppm, respectively. The toxicity of the five metals increased at higher temperature (33℃), and decreased at the lower temperature (28℃). Secondly, the investigation aimed at determining the effect of three levels of temperature, and the combined effects of temperature and heavy metals on the embryonic development before and after fertilization. It was found that sea urchin egg fertilized inuncontaminated sea water could develop to the pluteus stage at 23℃ and 28℃, but at 33℃ the embryo could merely developed to the blastula stage. The results also showed that sea urchin eggs fertilized in the heavy metal contaminated sea water and those that were fertilized in the uncontaminated sea water did not show signiticant difference on the following treatments by temperature and metal toxicity. When treated with 0.36 ppm Hg at 23, 28 and 33 ℃ the embryo could merely develop to blastula stage and all died within 15, 12 and 9 hours, respectively. For the other four metals, i.e, 0.38 ppm Cu, 0.40 ppm Zn, 5.44 ppm Pb, and 27.56 ppm Cd, the embryos could develop to the pluteus stages but having the abnormal plutei on the average of 22.57 %, 20.89 %, 18.30 % and 13.00 %, respectively. The lower temperature 23℃) caused lesser percentage of abnormality of the pluteus stage. At the higher temperature (33 ℃) the embryo could merely developed to blastula stage. In conclusion, this experiment showed that the relative toxicity of the five metals could be ranked from high to low toxicity in the following orders. Hg > Cu > Zn > Pb > Cd
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38838
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wathana_wa_front.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_ch1.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_ch2.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_ch3.pdf12.66 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_ch4.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_ch5.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Wathana_wa_back.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.