Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/397
Title: โมเดลสมการโครงสร้างของเชาว์ปัญญา เชาว์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A structural equation model of intelligence quotient, emotional quotient, and educational achievement of undergraduate students, Chulalongkorn University
Authors: พิสณฑ์ เกิดศิลป์, 2518-
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ระดับสติปัญญา
ความฉลาดทางอารมณ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักศึกษา
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ระหว่างเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างของเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ (2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (3) สร้างโมเดลสมการโครงสร้างของ เชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และ (4) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการ โครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 960 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) 24 ตัวแปร และตัวแปรแฝง (latent variable) 8 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดเชาวน์ปัญญา และแบบวัดเชาวน์อารมณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.574-0.915 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 12.0 และโปรแกรม LISREL for Windows version 8.54 สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาระหว่าง 57.173-139.028 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ระหว่าง 63.327-137.708 คะแนน โดยพบว่านิสิตสายวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา และคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ที่สูงกว่านิสิตสายสังคมศาสตร์ และนิสิตชั้นปีที่ 4 หรือสูงกว่า มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาและคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ที่สูงกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. กลุ่มตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ 23 ตัวแปร ร่วมกันทำนายแต้มเฉลี่ยสะสม (GPAX) ซึ่งเป็นตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ 15.9% 3. โมเดลโครงสร้างเชาวน์ปัญญาและโมเดลโครงสร้างเชาวน์อารมณ์ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ไม่สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า chisquare = 65.50, df = 24, p = 0.00001, GFI = 0.994, AGFI = 0.929, RMSEA = 0.042 และ RMR = 0.005 ตัวแปรสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ 1.3% 5. โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตที่ศึกษาในสายการศึกษา และชั้นปีต่างกันมีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล
Other Abstract: To study the structural model of intelligence quotient and emotional quotient; to study the causal relationship among intelligence quotient, emotional quotient and educational achievement; to develop the structural equation model of intelligence quotient, emotional quotient and educational achievement; and to examine of goodness of fitting to the empirical data. The random sample for this research consisted of 960 undergraduate students, Chulalongkorn University. The data obtaining from the testing of intelligence quotient and emotional quotient having reliability between 0.574-0.915 and consisted of 24 observed variables and 8 latent variables. Data analysis were descriptive statistic, two-way manova, Peason's product moment correlation, multiple regression analysis, confirmatory factor analysis and structural equation modeling analysis. The major results were as following: 1. Undergraduate students, Chulalongkorn University have intelligence quotient average score between 57.173-139.028 and have emotional quotient average score between 63.327-137.708, science students have more average intelligence quotient and emotional quotient score than social science students and 4th level or above have more average intelligence quotient and emotional quotient score than 1st, 2nd and 3rd and statistically significant at 0.01. 2. All 23 latent variables of intelligence quotient and emotional quotient observed variables accounted for 15.9% of variance in GPAX. 3. The structural model of intelligence quotient and emotional quotient was fit to the empirical data with statistically significant at 0.01. 4. The structural equation model of intelligence quotient, emotional quotient and educational achievement was not fit to the empirical data with chisquare = 65.50, df = 24, p = 0.00001, GFI = 0.994, AGFI = 0.929, RMSEA = 0.042, and RMR = 0.005 and could account for 1.3% of variance of educational achievement. 5. The structural equation model of intelligence quotient, emotional quotient and educational achievement of different science and level have invariance of form of the model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/397
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.500
ISBN: 9741756593
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.500
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pison.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.