Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41435
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ | - |
dc.contributor.author | มัลลิกา ภู่พัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2014-03-19T10:34:09Z | - |
dc.date.available | 2014-03-19T10:34:09Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41435 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยในเด็กอายุ 4 - 6 ปี 2. ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยในเด็กไทย 3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ในเด็กอายุ 4 - 6 ปี 4. เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ในเด็กไทย 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยกับความสามารถใน การเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ในเด็กอายุ 4 – 6 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 3 ระดับอายุ คือ 4 ปี, 5 ปี และ 6 ปี ระดับอายุละ 60 คน เป็นเด็กชาย 30 คน และเด็กหญิง 30 คน รวมทั้งสิ้น 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมย โดยดัดแปลงมาจากการศึกษาของ Rattermann & Gentner (1988) และแบบทดสอบความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA), Logistic Regression และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยของเด็กกลุ่มอายุ 4-6 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่าเด็กอายุ 5 ปี และ 6 ปี มีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยสูงกว่าเด็กอายุ 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เด็กอายุ 5 ปีและ 6 ปี มีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยไม่แตกต่างกัน 2. เด็กไทยมีพัฒนาการในด้านความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมย เมื่อมีอายุประมาณ 6 ปี 3. คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ของเด็กกลุ่มอายุ 4-6 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่าเด็กอายุ 5 ปี และ 6 ปี มีความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์สูงกว่าเด็กอายุ 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เด็กอายุ 5 ปีและ 6 ปี มีความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 4. เด็กไทยมีพัฒนาการในด้านความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ เมื่อมีอายุประมาณ 5 ½ ปี 5. ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมย กับความสามารถในการเข้าใจความคล้ายคลึงด้านความสัมพันธ์ในเด็กอายุ 4 – 6 ปี มีความสัมพันธ์กันในทางบวก (r=.322) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this thesis were to compare four- to six-year-old children’s ability to understand analogical reasoning and relational similarity, to predict development of understanding analogical reasoning and relational similarity in Thai children, and to study the relationship between analogical reasoning ability and ability to understand relational similarity. The subjects consisted of 180 four- to six-year-old children. There were 60 children, 30 boys and 30 girls, in each age group. The instruments were The Analogical Reasoning Test, modified from the study of Rattermann & Gentner (1998) and The Relational Similarity Test. One-way ANOVA, Logistic Regression, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient were used for statistical analysis. The study shows that : 1. Analogical reasoning ability in four– to six–year–old children tends to increase in accordance with their increasing age. Five- and six-year-old children have significantly higher ability to understand analogical reasoning than the four-year-olds (p<.05). However, five- and six-year-old children’s ability to understand analogical reasoning does not differ. 2. Thai children develop their ability to understand analogical reasoning approximately at the age of six years old. 3. Understanding relational similarity in four– to six–year–old children tends to increase in accordance with their increasing age. Five- and six-year-old children have significantly higher ability to understand relational similarity than the four-year-olds (p<.05). However, five- and six-year-old children’s ability to understand relational similarity does not differ. 4. Thai children develop their ability to understand relational similarity approximately at the age of five-and-a-half years old. 5. There is a significant positive correlation (r=.322) between 4-6-year-old children’s analogical reasoning ability and their ability to understand relational similarity (p<.01). | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1147 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | พัฒนาการของความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงอุปมาอุปไมยในเด็กไทย | en_US |
dc.title.alternative | Development of analogical reasoning ability in Thai Children | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาพัฒนาการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1147 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mallika_po_front.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mallika_po_ch1.pdf | 5.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mallika_po_ch3.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mallika_po_ch4.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mallika_po_ch5.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mallika_po_back.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.