Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41825
Title: การมีส่วนร่วมของประชากรในการจัดการป่าชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: People's Participation in the Management of Community Forest : a Case Study of Khun Mae Kuang Area Development Project, Doi Saket District, Chiang Mai Province
Authors: วิภาพรรณ ธาติ
Advisors: พัฒนาวดี ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Subjects: ป่าชุมชน -- ไทย -- เชียงใหม่
การจัดการป่าไม้ -- ไทย
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้และการป่าไม้ -- ไทย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Community forests
Forest management -- Thailand
Natural resources -- Management
Forests and forestry -- Thailand
Conservation of natural resources -- Citizen participation
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชากรในการจัดการป่าชุมชนและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของประชากรที่อยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่ ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามกับประชาชนตัวอย่างในอำเภอดอยสะเก็ด 6 หมู่บ้านจำนวน 600 ราย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอยู่ในระดับต่ำและเมื่อแยกพิจารณาตามขั้นตอนการมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอนพบว่าขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอยู่ในระดับต่ำ ส่วนขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่ายพบว่าตัวแปรอิสระที่มีผลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ สถานภาพในครัวเรือน ระดับการศึกษา จำนวนการเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน รายได้ ความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน และเจตคติเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ส่วนตัวแปรอิสระที่มีผลทางลบต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุพบว่ากลุ่มตัวแปรอิสระมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้ง 10 ตัว สามารถอธิบายการแปรผันของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนได้ประมาณร้อยละ 27.7 และผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่าเจตคติเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนสามารถอธิบายการแปรผันของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนได้ดีที่สุดคือร้อยละ 15.2 รองลงมาคือ เพศ ความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน จำนวนการเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน และอายุ ซึ่งเพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนได้ร้อยละ 4.5, 3.2, 3.0 และ 1.3 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่ได้เพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study investigates the people’s level of participation in the management of community forest and relations between factors and people’s participation in the management of community forest of Khun Mae Kuang area development project, Doi Saket district, Chiang Mai province. Data were collected from 600 interviewees from six sampled communities. The result finds people’s participation in the management in community forest is at a low level. It also shows that participation in decision making, participation in benefits and participation in evaluation are at a low level, whereas participation in implementation is at a moderate level. Simple Regression Analysis indicates that six variables including sex, household status, level of education, number of social group membership, income, knowledge on community forest and attitude towards management in community forest, each, has a positive influence on people’s participation while age has a negative influence on people’s participation in the management of the community forest, at the .05 significance level. In addition, Multiple Regression Analysis shows that a group of 10 independent variables significantly explains variation in such people’s participation by 27.7 percent. Stepwise Multiple Regression Analysis, however, reveals that the prime factor explaining the variation of people’s participation is attitude towards management in community forest, 15.2 percent, followed by sex, knowledge on community forest, number of social group membership, and age, which increases the explanatory power by 4.5, 3.2, 3.0 and 1.3 percent, respectively, whereas the remaining independent variables do not increase the explanatory power at the .05 significance level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41825
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.759
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.759
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipapan_th_front.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Wipapan_th_ch1.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
Wipapan_th_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Wipapan_th_ch3.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open
Wipapan_th_ch4.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Wipapan_th_back.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.