Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42008
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐสุดา เต้พันธ์ | - |
dc.contributor.advisor | กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ | - |
dc.contributor.author | พลอยชมพู อัตศรัณย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2014-04-01T03:40:20Z | - |
dc.date.available | 2014-04-01T03:40:20Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42008 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในสตรีวัยรุ่นกับการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ค่าดัชนีมวลกาย การประเมินตนเสมือนวัตถุด้านต่างๆ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาสตรีที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 327 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 4 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดการประเมินตนเสมือนวัตถุในมาตรย่อยด้านการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง ด้านความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง และด้านความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ 1. ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [r(327) = .44, p ˂ .001] 2. ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [r(327) = .29, p ˂ .001] 3. ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีมวลกาย ในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [r(327) = -.19, p ˂ .001] 4. องค์ประกอบย่อยของการประเมินตนเสมือนวัตถุด้านการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเองและความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเองนั้นมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 [r(327) = -.35, p ˂ .001] และ r(327) = -.32, p ˂ .001] ตามลำดับ ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่ความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเองมีกับความพึงพอใจนี้เป็นไปในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [r(327) = .11, p ˂ .05] 5. เมื่อพิจารณาร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระทั้งหมดเข้าไปในสมการ (Enter method) นั้น พบว่าตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายได้ร้อยละ 31 (R² = .31 , p ˂ .001) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research study was to examine the relationships among body image satisfaction and self-esteem, self-compassion, body mass index, and various aspects of self-objectification. Participants were 327 Thai female undergraduates who were 18-23 years of age. The participants responded to a set of questionnaires measuring body image satisfaction, self-esteem, self-compassion, and the three areas of self-objectification (i.e., body surveillance, body shame, and control belief). Pearson’s product moment correlation coefficient and Multiple Regression Analysis were used to analyse the data. Findings were as follows: 1) Body image satisfaction was significantly and positively correlated with self-esteem [r(328) = .44, (p ˂ .001)] . 2) Body image satisfaction was significantly and positively correlated with self-compassion [r(327) = .29, (p ˂ .001)]. 3) Body image satisfaction was significantly and negatively correlated with body mass index [r(327) = -.19, (p ˂ .001)]. 4) Body image satisfaction were significantly and negatively correlated with body surveillance [r(327) = -.35, (p ˂ .001)], and body shame, [r(327) = -.32, (p ˂ .001)]. Different than hypothesized, body image satisfaction was found to have significant positive correlation with the sense of control that the participants had over their body image, [r(327) = .11, (p < .05)]. 5) When examined together, self-esteem, self-compassion, body mass index, and the three aspects of objectification significantly predicted body image satisfaction and accounted for 31% of its variance (R² = .31 , p ˂ .001) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1225 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความนับถือตนเองในวัยรุ่น | en_US |
dc.subject | วัยรุ่นหญิง -- จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | ภาพลักษณ์ร่างกายในวัยรุ่น -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | จิตวิทยาวัยรุ่น | en_US |
dc.subject | Self-esteem in adolescence | en_US |
dc.subject | Teenage girls -- Psychology | en_US |
dc.subject | Body image in adolescence -- Psychological aspects | en_US |
dc.subject | Adolescent psychology | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ค่าดัชนีมวลกาย การประเมินตนเสมือนวัตถุและความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในสตรีวัยรุ่น | en_US |
dc.title.alternative | Relationships among self-esteem, self-compassion, body mass index, self-objectification, and body image satisfaction in female adolescents | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | tnattasuda@gmail.com | - |
dc.email.advisor | Kullaya.D@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1225 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ploychompoo_at.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.