Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42455
Title: การประมาณอัตราผลผลิตซากพืชในป่าชายน้ำ ลำเซบาย จังหวัดยโสธร
Other Titles: Estimation of litter productivity in a Riparian forest, Lam Se Bai, Yasothon province
Authors: ไชยรัตน์ บำรุงสุข
Advisors: ศศิธร พ่วงปาน
พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sasitorn.P@Chula.ac.th
Pipat.P@Chula.ac.th
Subjects: ป่าชายน้ำ -- ไทย -- ยโสธร
พืชชายน้ำ -- ไทย -- ยโสธร
Riparian forests -- Thailand -- Yasothon
Riparian plants -- Thailand -- Yasothon
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ป่าชายน้ำเป็นป่าที่มีการท่วมของน้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูฝนพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและเรียกว่า ป่าบุ่งป่าทาม ส่วนหนึ่งของผลผลิตทางนิเวศวิทยาประมาณได้จากอัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่น แต่การท่วมของน้ำทำให้การประมาณอัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่นจากกระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาทำได้ยาก จากการศึกษาอัตราผลผลิตซากพืชในป่าชายน้ำของปี พ.ศ. 2554 ได้แก่ ซากพืชที่ร่วงหล่น ซากพืชที่ถูกนำเข้ามา ซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดิน และซากพืชที่ถูกนำออกไปจากผิวดินในแปลงศึกษาขนาด 30×150 ตารางเมตรริมลำเซบาย จังหวัดยโสธร ซึ่งแบ่งเขตพื้นที่ศึกษาเป็น 3 เขตตามความสูงสัมพัทธ์ของพื้นที่และจำนวนวันที่น้ำท่วมได้แก่ Low zone, Middle zone และ High zone การศึกษาปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นด้วยกระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาและแบบลอยน้ำพบว่า การปรับกระบะรองรับซากพืชให้ลอยน้ำได้ในเขต Low zone และ Middle zone ไม่สามารถรับซากพืชที่ร่วงระหว่างช่วงน้ำท่วมได้ (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) เนื่องจากกระบะลอยเสมอชั้นเรือนยอดของพืช ในขณะที่เขต High zone กระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาสามารถรับซากพืชที่ร่วงได้ตลอดทั้งปี จึงนำไปสู่การใช้สมการความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นรายเดือนกับปัจจัยสภาพภูมิอากาศเพื่อประมาณปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นระหว่างช่วงน้ำท่วม และจากการศึกษาโครงสร้างป่าพบว่าเขต Low zone และ Middle zone มีโครงสร้างของเรือนยอดชั้นล่างที่ประสานกันแน่น ซึ่งมีผลในการกั้นซากพืชจากเรือนยอดชั้นบนสู่กระบะรองรับซากพืชที่อยู่ภายใต้เรือนยอดชั้นล่าง การคำนวณอัตราผลผลิตซากพืชรายปีจึงปรับปริมาณซากพืชบริเวณเรือนยอดที่ประสานกันแน่นรวมด้วย อัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่นมีค่ามากที่สุดในเขต High zone เท่ากับ 11.93 ตัน/แฮกแตร์/ปี รองมาในเขต Low zone และ Middle zone มีค่าเท่ากับ 11.48 และ 6.30 ตัน/แฮกแตร์/ปี ตามลำดับ การศึกษาซากพืชที่ถูกนำเข้ามาที่เก็บจากพื้นที่ใต้กระบะรองรับซากพืช และซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดินที่เก็บจากพื้นป่าข้างกระบะรองรับซากพืชพบว่ามีปริมาณมากที่สุดในเขต Low zone รองลงมาคือเขต High zone และ Middle zone ซึ่งเป็นผลมาจากความลาดชันที่น้อยของพื้นป่าและการมีอยู่ของโครงสร้างเรือนยอดที่ประสานกันแน่นจำนวนมากจึงขวางการพัดพาซากพืชจากน้ำท่วมในเขต Low zone ในการศึกษาครั้งนี้สามารถอธิบายพลวัตของซากพืชของเขต Low zone มีซากพืชที่ถูกนำเข้ามาบนผิวดินเข้าสู่พลวัตซากพืชเป็นส่วนใหญ่คิดเป็น 56.4% ของปริมาณซากพืชรายปี ซึ่งซากพืชส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาบนผิวดินภายหลังน้ำท่วม ในขณะที่เขต Middle zone และ High zone ซากพืชที่เข้าสู่พลวัตซากพืชส่วนใหญ่คือซากพืชที่ร่วงหล่น สำหรับซากพืชที่ถูกนำออกไปจากผิวดินเขต Middle zone มีค่ามากที่สุดคิดเป็น 38.0% ของปริมาณซากพืชรายปี เนื่องจากเป็นเขตที่มีพื้นที่ลาดชันสูงซากพืชจึงถูกนำออกไปจากผิวดินได้ง่ายหลังน้ำลด แต่สำหรับ High zone ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อย สรุปได้ว่าซากพืชมีการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในเขตเนื่องจากมีปริมาณซากพืชที่ร่วงไม่แตกต่างจากซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดิน
Other Abstract: Riparian forest usually distributed in north-east of Thailand. It is regularly flooded during the rainy season. Thus, it is difficult to estimate the litterfall productivity by using common-used litter trap, while the litterfall productivity is an important component of ecological productivity. Litter productivity (litterfall, imported litter, litter standing crop, and exported litter) of the year 2011 in a riparian forest along Lam Se Bai river, Yasothon province was estimated from a 30×150 m2 plot, which was divided into 3 zones as Low zone, Middle zone, and High zone based on topographical level and inundation period. The litter trap was adapted to float during the flooding period. The result showed that the floating traps in the Low zone and Middle zone floated up to the same height of forest canopy and could not trap any plant litter, while the common litter trap in the High zone trapped litterfall throughout the study. Therefore, relationships between monthly litterfall and independent variables relating to climatic factors were established to estimate the litterfall during the flooding period. The forest structure in the Low zone and Middle zone showed 2 layer-canopy which the lower layer was dense and blocked litter from the upper canopy to fall into litter trap beneath it. Thus, the litter accumulated on the lower canopy should be taken in account for the estimation of litter productivity. The litterfall productivity was the highest in the High zone, at 11.93 ton/ha/yr. For the Low zone and the Middle zone, it was calculated at 11.48 and 6.30 ton/ha/yr, respectively. The results also indicated that the imported litter and litter standing crop on the forest floor showed the highest value in the Low zone, followed by the High zone and the Middle zone. This might be a consequence of the gentle slope of the forest floor and the structure of dense canopy in the Low zone block the litter to be flushed away by flooding. Dynamics of litter in the 3 zone were discussed. In the Low zone, most of litter input was obtained by imported litter by flood (56.4%), while that of Middle zone and High zone, was gained by fallen litter. Most of litter was removed from Middle zone (38.0%) easily by tide after the flood due to the high degree of slope. But in the High zone where is hardly affected by flood, the plant litter only moved within the zone, because the amount of litterfall was not different from the amount of litter standing crop.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42455
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1043
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1043
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chairat_ba.pdf7.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.