Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42570
Title: การควบคุมตำแหน่งของหุ่นยนต์แบบเดลต้าด้วยสัญญาณป้อนกลับจากแขน
Other Titles: POSITION CONTROL OF A DELTA ROBOT WITH END POINT FEEDBACK
Authors: จารุบุตร คณะนัย
Advisors: รัชทิน จันทร์เจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ratchatin.C@chula.ac.th
Subjects: หุ่นยนต์ -- การออกแบบ
จลนศาสตร์
หุ่นยนต์ -- การควบคุม
Robots -- Design
Kinematics
Robots -- Control
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันหุ่นยนต์โครงสร้างขนานแบบเดลต้ามีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น โรงงานบรรจุหีบห่อ โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากมีความเร็วในการหยิบจับสูงและมีค่าบำรุงรักษาต่ำเนื่องจากมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่น้อย การหาตำแหน่งปลายแขนของหุ่นยนต์โดยทั่วไปคำนวณตำแหน่งปลายแขนของหุ่นยนต์จะคำนวณผ่านจลศาสน์ไปข้างหน้า ซึ่งเป็นการคำนวณโดยการโอนย้ายความสัมพันธ์ของตำแหน่งแขนกลจากการอ้างอิงเชิงมุมของแต่ละข้อต่อ ในปริภูมิข้อต่อมาเป็นการอ้างอิงในปริภูมิเชิงเส้น 3 มิติ ในปริภูมิคาทีเซียน เพื่อบอกตำแหน่งปลายแขนกลเทียบกับฐานของหุ่นยนต์ แม้ว่าการสอบเทียบจะสามารถแก้ไขค่าความผิดพลาดของตัวแปรที่นำมาคำนวณจลศาสตร์ไปข้างหน้าได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด เนื่องจากหุ่นยนต์โครงสร้างแบบขนานนั้น ถูกออกแบบมาด้วยสมมติฐานว่าโครงสร้างแขนในแต่ละวงสมมาตรกันการแก้ไข การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเชิงเรขาคณิตจึงไม่สามารถทำได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการควบคุมตำแหน่งหุ่นยนต์เดลต้าด้วยสัญญาณป้อนกลับจากแขน โดยการนำกล้องไปติดตั้งไว้ที่ปลายแขนจากนั้นนำเสนอเทคนิควิธีการควบคุมป้อนกลับด้วยภาพแบบตำแหน่งเป็นหลัก ซึ่งจะใช้จาโคเบียนรูปภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตำแหน่งและแสดงผลการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมตำแหน่งปลายแขนของหุ่นยนต์เดลต้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าการควบคุมตำแหน่งปลายแขนของหุ่นยนต์นั้น มีความเที่ยงแต่ไม่มีความแม่น จากผลการทดสอบจะเห็นว่าผลการพิมพ์สามมิติแบบเอฟดีเอ็ม โดยการใช้ค่าตำแหน่งจากกล้องชดเชยการเคลื่อนที่ของปลายแขนหุ่นยนต์ ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาจากหัวพิมพ์มีความถูกต้องมากขึ้น เปรียบเทียบกับชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาจากหัวพิมพ์ที่ไม่ได้ใช้ระบบควบคุมที่นำเสนอ ดังนั้นการเพิ่มค่าความแม่นของตำแหน่งปลายแขนของหุ่นยนต์โดยใช้กล้องนั้น เป็นผลให้ความถูกต้องในการพิมพ์ชิ้นงานดีขึ้น
Other Abstract: A Delta robot is a symmetric parallel robot with excellent precision and speed for pick-place manipulation task. This robot draws much attention from both institutes and industries. However, the position of its end tip is inaccurately determined via the robot forward kinematics, developed based on the model with the assumption that the robot is symmetric. The calibration was used only to determine the actual lengths for all the links but not corrected the geometrical error of the robot, including axis misalignment, link’s unsymmetrical length and offset. These results in inaccurate position control even the robot is precise. This dissertation proposed a technique to enhance the accuracy of the Delta robot using the USB camera installed at the end tip. The robot position will be accurately controlled even its kinematics model is inaccurate. The position based visual servoing technique was used to correct the position which determined using robot’s kinematic. Image Jacobian was implemented in this regard to determine the correct position of the end tip in order to verify the performance of the proposed technique. Several experiments are used to demonstrate the performance of the proposed technique. These include the FDM 3D printing case that uses the Delta robot to lay the plastic on a plane. The result shows that the accuracy is significantly improved with the position corrected from the feedback from the camera. In the conclusion, the proposed technique was shown to be more accuracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42570
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.46
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.46
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5271870921.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.