Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42684
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงานกับผลการปฏิบัติงานโดยมีความยืดหยุ่นทางการรู้คิด การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ความยืนหยัดในงาน และการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย เป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | RELATIONSHIP BETWEEN VIGOR AND JOB PERFORMANCE: THE MEDIATING EFFECTS OF COGNITIVE FLEXIBILITY, COWORKER SUPPORT, TASK PERSISTENCE, AND DIFFICULTY OF SELF-SET GOALS |
Authors: | กมล ศรีตั้งรัตนกุล |
Advisors: | วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | watch.boonya@gmail.com |
Subjects: | การทำงาน -- แง่จิตวิทยา จิตวิทยาประยุกต์ Work -- Psychological aspects Psychology, Applied |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงาน (vigor) และผลการปฏิบัติงาน (job performance) และทดสอบอิทธิพลส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางการรู้คิด (cognitive flexibility) การช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน (coworker support) ความยืนหยัดในงาน (task persistence) และการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (difficulty of self-set goal) พนักงานชาวไทยจำนวนสามร้อยเก้าคนจากบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพ ฯ ตอบแบบสอบถามเพื่อรายงานความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าในงาน ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย และผลการปฏิบัติงานตามการประเมินของตนเอง หัวหน้างานของกลุ่มตัวอย่างประเมินการยืดหยัดในงานและผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านด้วยวิธี bootstrapping พบว่า ความกระปรี้กระเปร่าในงานเป็นตัวทำนายทางบวกต่อผลการปฏิบัติงาน (B = .98, R2 = .35, F(3,305) = 53.53, p < .001) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .12, BCs 95% CI [.07, .19]) ความยืนหยัดในงาน (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .16, BCs 95% CI [.08, .25]) และการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .07 , BCs 95% CI [.01, .14]) เป็นตัวแปรส่งผ่านทางบวกในความสัมพันธ์ระหว่างความกระปรี้กระเปร่าในงานกับผลการปฏิบัติงาน ในขณะที่การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานไม่เป็นตัวแปรส่งผ่าน (ค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางอ้อม = .01, BCs 95% CI [-.06, .07]) |
Other Abstract: | The aims of the current study are to examine the relationship between vigor and job performance, and to test the mediating effects of cognitive flexibility, co-worker support, task persistence, and difficulty of self-set goals on the relationship. Three hundred and nine Thai employees from private organizations in Bangkok Metropolitan region reported their vigorous feeling, cognitive flexibility, co-worker support, difficulty of self-set goal, and perception of their own job performance. Participants’ immediate supervisor provided assessments of participants’ task persistence and overall job performance. A mediating analysis using bootstrapping indicates that, as expected, vigor can significantly predict job performance (B = .98, R2 = .35, F(3,305) = 53.53, p < .001). Cognitive flexibility (indirect effect = .12, BCs 95% CI [.07, .19]), task persistence (indirect effect = .16, BCs 95% CI [.08, .25]), and difficulty of self-set goal (indirect effect = .07 , BCs 95% CI [.01, .14]) significantly mediate the effect of vigor on job performance, while co-worker support does not (indirect effect = .01, BCs 95% CI [-.06, .07]). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาประยุกต์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42684 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.157 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.157 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477752838.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.