Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42686
Title: อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตร ต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รักโดยมีรูปแบบความผูกพันเป็นตัวแปรส่งผ่านและเพศเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: THE MODERATED MEDIATION OF EXTRAVERSION AND AGREEABLENESS PERSONALITIES ON RELATIONSHIP SATISFACTION: THE MEDIATING ROLE OF ATTACHMENT STYLES AND THE MODERATING ROLE OF SEX
Authors: ณัฐชรินธร อภิวิชญ์โชษิตา
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: apitchaya.c@chula.ac.th
wannee.k@gmail.com
Subjects: บุคลิกภาพ
บุคลิกภาพแบบเปิดเผย
ความผูกพัน
คู่รัก
จิตวิทยาประยุกต์
Personality
Extraversion
Commitment (Psychology)
Couples
Psychology, Applied
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีรูปแบบความผูกพันเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2) เพื่อตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีรูปแบบความผูกพันเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างกลุ่มเพศชายและเพศหญิง ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 380 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรภายนอกที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปรอิสระ จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตร ตัวแปรภายในที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง รูปแบบความผูกพันแบบวิตกขัดแย้ง และรูปแบบความผูกพันแบบหลบหลีก ตัวแปรภายในที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปรตาม จำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีรูปแบบความผูกพันเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-square = 0.87, degree of freedom = 1, p-value = 0.350, RMR = 0.951, RMSEA = 0.00 , AGFI = 0.984 และ GFI= 0.999) ตัวแปรบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและตัวแปรบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรรูปแบบความผูกพันทั้ง 3 รูปแบบ และตัวแปรความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ตัวแปรบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและตัวแปรบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และตัวแปรรูปแบบความผูกพันทั้ง 3 รูปแบบ มิอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) ผลการตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบเปิดตัวและบุคลิกภาพแบบเป็นมิตรต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีรูปแบบความผูกพันเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างกลุ่มเพศชายและเพศหญิง พบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลและค่าพารามิเตอร์ในโมเดล ซึ่งได้แก่ เมทริกซ์ค่าอิทธิพลของตัวแปรภายนอกที่มีต่อตัวแปรภายใน เมทริกซ์ค่าอิทธิพลของตัวแปรภายในที่มีต่อตัวแปรภายใน เมทริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อนของตัวแปรภายใน และเมทริกซ์ความแปรปรวน - ความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรภายนอก
Other Abstract: The purposes of this study were 1) To develop and validate the causal models of romantic relationship satisfaction. The models were hypothesized to have a direct effect from extraversion and agreeableness to romantic relationship satisfaction, and indirect effect via attachment styles (secure, anxious and avoidant) which mediated between extraversion and agreeableness. 2) To analyze the invariance of romantic relationship satisfaction between men and women. The research sample consisted of 380 students and people in general in Bangkok Metropolitan. The variables consisted of two exogeneous variables (extraversion and agreeableness) and four endogeneous variables (secure, anxious, avoidant , and romantic relationship satisfaction ). The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation and LISREL analysis. The major findings are as follows: 1. The model of romantic relationship satisfaction was also fit well to the empirical data (Chi-square = 0.87, degree of freedom = 1, p-value = 0.350, RMR = 0.951, RMSEA = 0.00 , AGFI = 0.984, GFI= 0.999). Extraversion and agreeableness have direct effect to attachment styles and romantic relationship satisfaction with statistical significance (p < .05). Extraversion and agreeableness have indirect effect to romantic relationship satisfaction with statistical significance (p = < .05) . Attachment styles have direct effect to romantic relationship satisfaction with statistical significance (p < .05). 2. The model of romantic relationship satisfaction between men and women indicated invariance of model pattern and parameter matrix of causal effects between the effect size of endogeneous variables to exogenous variables, the effect size of exogeneous variables to exogenous variables, variance – covariance of the endogeneous variables, and variance – covariance of the exogenous variable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาประยุกต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42686
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.165
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477759238.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.