Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42778
Title: พหุกรณีศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา
Other Titles: A MULTI-CASE STUDY OF THE STRATEGIC MANAGEMENT OF EDUCATIONAL TECHNOLOGY AND COMMUNICATIONS CENTER BASED ON CRITICAL SUCCESS FACTORS FOR ONLINE DISTANCE LEARNING IN HIGHER EDUCATION
Authors: บุษกร เชี่ยวจินดากานต์
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: praweenya@gmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวางแผนเชิงกลยุทธ์
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Strategic planning
Information technology
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับหลักสูตรการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับขอบข่ายงานของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา และ 3) เพื่อสังเคราะห์การบริหารเชิงกลยุทธ์ของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาและหลักสูตรการเรียนทางไกลออนไลน์ จำนวน 10 คน ผู้สอนออนไลน์ จำนวน 5 คนและผู้เรียนออนไลน์จำนวน 8 คน ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก และการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลแบบสามเส้า ถูกนำมาใช้ในการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการตีความสรุปข้อมูล การสังเคราะห์การบริหารเชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับหลักสูตรการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับขอบข่ายงานของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มี 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการจัดการของสถาบัน มีปัจจัยรองดังนี้ 1.1) การวางกรอบการทำงาน ได้แก่ การวางแผนโครงการ โครงสร้างการบริหารงาน การประสานงาน และการจัดงบประมาณ 1.2) การดำเนินงาน ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การปฐมนิเทศ และการรับสมัคร 1.3) การลงทุน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี 2) ปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนการสอน มี 1 ปัจจัยรองดังนี้ (2.1) ระบบบริหารการเรียนรู้ ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และการติดตามผู้เรียน 3) ปัจจัยด้านบริการสนับสนุน มี 2 ปัจจัยรองดังนี้ 3.1) ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การสนับสนุนผู้เรียน การสนับสนุนผู้สอน และการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ 3.2) ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือ และ 4) ปัจจัยด้านการประเมินหลักสูตร มี 1 ปัจจัยรองดังนี้ 4.1) การประเมินคุณภาพ ได้แก่ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกล 2. การบริหารศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการเรียนทางไกลออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา พบว่ามี 2 รูปแบบที่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามมีขอบข่ายงานที่สนับสนุนการบริหารหลักสูตรการเรียนทางไกลออนไลน์ที่เหมือนกันอยู่ 5 ขอบข่ายงาน ได้แก่ 1) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี 2) การออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) การสนับสนุนผู้เรียน 4) การสนับสนุนผู้สอน และ 5) การบริการให้ความช่วยเหลืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในรูปแบบที่ 1 แสดงให้เห็นถึงการบริหารศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่สนับสนุนหลักสูตรการเรียนทางไกลออนไลน์ตามแนวคิดดั้งเดิม ขณะที่รูปแบบที่ 2 แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่ครอบคลุมการบริหารหลักสูตรฯ เสมือนเป็นสถาบันการจัดการศึกษาออนไลน์ ซึ่งมีการบริหารเพิ่มขึ้น 10 ขอบข่ายงาน ได้แก่ 6) การวางแผนโครงการ 7) การจัดโครงสร้างการบริหารงาน 8) การประสานงาน 9) การจัดงบประมาณ 10) การประชาสัมพันธ์ 11) การปฐมนิเทศ 12) การรับสมัคร 13) การติดตามผู้เรียน 14) การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ และ 15) การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกล 3. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในรูปแบบที่ 1 จากขอบข่ายงาน 5 ด้าน มีกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการจำนวน 42 กลยุทธ์ และรูปแบบที่ 2 ที่มีขอบข่ายงานที่เพิ่มขึ้น 10 ด้าน มีกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการเพิ่มขึ้นจำนวน 62 กลยุทธ์
Other Abstract: This purpose of this qualitative research were 1) To study the Critical Success Factors (CSFs) for Online and Distance Learning (ODL) in Higher Education (HE) which related to the framework and scope of Educational Technology and Communications center (ETC center), 2) To explore the management of ETC center based on the CSFs for ODL in HE, and 3) To synthesize the strategic management of ETC center based on the CSFs for ODL in HE. Samples included 10 executives and staff from ETC center and ODL programs, 5 online instructors, and 8 online learners. Qualitative research methods including document research, observation, in-depth interview, and data triangulation were used for data collecting, analyzing, and interpreting. The synthesized strategic management frameworks, including operating strategies, were agreed by ETC experts. The research instruments were content analysis form, semi- structured interview form, and assessment of strategic management form. The findings of the study were as the following: 1. Four primary CSFs for ODL in HE related to the framework and scope of ETC centers were 1) Institute management factors (3 secondary factors were: program framework factor involved program planning, organization structure, coordinating and budgeting, operation factor included public relations, orientation, and registration, and cost effectiveness factor included technical infrastructure investments), 2) Instructional design factor (1 secondary factor was learning management system factor included e-Courseware and student tracking, 3) Service and support factor (2 secondary factors were: human resources included learners, instructors, and staff support and electronic resources involved online help desk), and 4) Course evaluation factor (1 secondary factor was quality management factor involved quality management of distance education). 2. There were two different management models of ETC center for ODL in HE based on the CSFs. However, both models had five similarity framework related to support ODL program which were 1) technical infrastructure investments, 2) e-Courseware design, 3) student support, 4) instructor support, and 5) online help desk support. The first model of ETC center management showing the embedded-ETC center in the ODL program which changed from the traditional ETC center. While the second model showed the new form of ETC center by covering the program management part as the office of online education adding 10 more frameworks as following: 6) program planning, 7) organization structure, 8) coordination, 9) budgeting, 10) public relations, 11) student orientation, 12) registration, 13) student tracking, 14) staff support, and 15) quality management of distance education. 3. Strategic management of ETC center in the first model had 5 frameworks including 42 operating strategies and 15 frameworks involving 62 operating strategies were included in the second model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42778
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.259
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284226027.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.