Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43151
Title: ผลของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคของนักศึกษาครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลพหุตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: EFFECTS OF TEACHER EDUCATION PROGRAM ON INSTRUCTIONAL DESIGN KNOWLEDGE WITH STUDENT TEACHERS' SELF EFFICACY AND TPACK AS MEDIATORS: A MULTIPLE MEDIATOR MODEL
Authors: นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: suwimon.w@chula.ac.th
Subjects: ครู -- การศึกษาและการสอน
การประเมินหลักสูตร
Teachers -- Study and teaching
Curriculum evaluation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตน ระดับความรู้ตามกรอบทีแพค และระดับความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครูของนักศึกษาครู 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล และ 3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านอิทธิพลทางตรงของหลักสูตรผลิตครูไปยังความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนและอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคไปยังความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูจำนวน 517 คน ที่ได้จากการเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามวัดความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม LISREL สรุปผลการวิจัย 1) นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความรู้ตามกรอบทีแพค และความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครูในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (Mean = 3.86, 3.96, 3.84 และ 3.75 ตามลำดับ) 2) โมเดลเชิงสาเหตุของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า chi-square = 5.44, df = 8 และ p-value = .71 ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .99 3) โมเดลเชิงสาเหตุของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน เป็นโมเดลการวิจัยที่มีการส่งผ่านแบบบางส่วน โดยความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครู (.34) และความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถแห่งตน และความรู้ตามกรอบทีแพค (.54) ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Other Abstract: The objectives of this study were to 1) analyze the level of instructional design knowledge, the level of self-efficacy, the level of knowledge with TPACK and the level of knowledge and student teachers’ experiences in teacher education program , 2) develop the casual model of teacher education program on instructional design knowledge and validate the model, and 3) analyze the direct effect of teacher education program on instructional design knowledge and indirect effect of teacher education program via self-efficacy and TPACK to instructional design knowledge. Five hundred and seventeen student teachers were selected by simple random sampling. The research instruments were instructional design knowledge, self-efficacy, TPACK and knowledge and experience of teacher education measures. Data were analyzed by using descriptive statistics and SEM (Structural Equation Model).The results were as follows:1. Student teachers had relatively high level of instructional design knowledge, self-efficacy, knowledge with TPACK and knowledge and experience of teacher education (Mean = 3.86, 3.96, 3.84 and, 3.75). 2. The model fitted to the empirical data with Chi-square = 5.44, df = 8, p-value = .71, GFI = .99 and AFGI = .99.3. A causal and effect model of teacher education program on instructional design knowledge was a model with partial mediators, self-efficacy and TPACK. Knowledge and experience in teacher education program directly influenced instructional design knowledge. Instructional design knowledge had significant indirect effect via self-efficacy and TPACK. All effects were significant at p<.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43151
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.621
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583402127.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.