Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิชen_US
dc.contributor.authorพรรษมณฑ์ อธิโชคจารุพัชร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:36:58Z
dc.date.available2015-06-24T06:36:58Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43300
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุต่อการลดภาวะวิตกกังวลในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษา ที่หน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 40 จัดเข้ากลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยวิธีจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ แบบประเมินความวิตกกังวลโดยใช้รูปภาพแสดงสีหน้าอารมณ์ (The Faces Anxiety Scale) เครื่องมือทดลอง ประกอบด้วย เครื่องมือการดำเนินการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุภายในห้องฉุกเฉิน ประกอบด้วย แนวทางการปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุภายในห้องฉุกเฉิน คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อดูแลผู้สูงอายุภายในห้องฉุกเฉิน และ แบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลอย่างเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุภายในห้องฉุกเฉิน โดยได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงของเนื้อหา 1.0 ความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) โดยวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์ครอนบาค ได้เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาภายในห้องฉุกเฉินหลังได้รับการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุมีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาภายในห้องฉุกเฉินกลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลแบบบูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to study the effects of nursing intervention integrated with age-friendly principle on anxiety of the older patients in emergency room. The research subjects consisted of 40 older patients who were randomly assigned to either control group and experimental group by matched pair technique. Research instruments were the Guideline for Age-friendly Environmental Modification in Emergency Room, the Handbook of Nursing Intervention Integrated Age- friendly care in Emergency Room. Research data were obtained by the Faces Anxiety Scale, and the Questionnaire of nursing Intervention in care for older patients in Emergency room. The instruments tested for content validity by 5 experts, and CVI were 1.0, while the reliability used Alpha Cronbach is .83. Statistical method used in data analysis were Mean, Standard deviation and t-test The research findings were as follows: 1. After receiving nursing intervention integrated age-friendly principle the mean anxiety score among the older persons treated in emergency room in the experimental group was significantly lower than the score before undergoing the program (p<.05). 2. After receiving nursing intervention integrated age-friendly principle the mean anxiety score among the older persons treated in emergency room in the experimental group was significantly lower than those who received routine nursing (p<.05).
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.708-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาลกับผู้ป่วย
dc.subjectความวิตกกังวล
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subjectNurse and patient
dc.subjectOlder people -- Care
dc.titleผลของการปฏิบัติการพยาบาลที่บูรณาการหลักการเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF NURSING INTERVENTION INTEGRATED WITH AGE-FRIENDLY PRINCIPLE ON ANXIETY OF THE OLDER PATIENTS IN EMERGENCY ROOMen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwattanaj@yahoo.comen_US
dc.email.advisorSuvinee.W@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.708-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5377589836.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.