Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43350
Title: การสำรวจและประเมินประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อต่อ Cryptococcus neoformans จากสิ่งขับถ่ายนกพิราบ (Columba livia) ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: SURVEY AND DISINFECTANT DETERMINATION FOR CRYPTOCOCCUS NEOFORMANS FROM PIGEON (COLUMBA LIVIA) DROPPINGS IN BANGKOK
Authors: ปฐมพร คลังวิเชียร
Advisors: ณุวีร์ ประภัสระกูล
อริยา จินดามพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: nuvee.p@chula.ac.th
fmedacd@md2.chula.ac.th
Subjects: นกพิราบ -- มูล
เชื้อรา
การทำลายเชื้อ
Fungi
Disinfection and disinfectants
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Cryptococcus neoformans เป็นเชื้อราฉวยโอกาส ที่เป็นสาเหตุของการก่อโรค cryptococcosis ทั้งในคนและสัตว์ โดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากการแพร่กระจายของเชื้อ C. neoformans พบได้ทั่วโลกนั้น การลดความเสี่ยงการติดเชื้อจึงเป็นวิธีที่สำคัญในด้านสุขอนามัย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสำรวจเชื้อ C. neoformans จากสิ่งขับถ่ายนกพิราบใน 11 เขตของกรุงเทพมหานคร ช่วงระยะเวลาปีค.ศ. 2011 ถึง 2012 และประเมินประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อต่อเชื้อ C. neoformans ผสมกับสิ่งขับถ่ายนกพิราบ (Colimba livia) และเชื้อบริสุทธิ์ ด้วยวิธีการทดลอง นำไอโซเลตทั้งหมดแยกวินิจฉัยด้วยการเพาะแยกบนอาหารเลี้ยงเชื้อจำเพาะ (caffeic acid agar) ระบุตัวตนเชื้อด้วยคุณลักษณะทางชีวเคมี พร้อมทั้งยืนยันเชื้อด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบ multiplex และประเมินประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อทั้ง 3 ชนิด (กลุ่มควอเทอนารีแอมโนเนียม กลุ่มโซเดียมไฮโปคลอไรด์ และกลุ่มโพแทสเซียม โมโนเปอร์ซัลเฟต) ด้วยวิธี Dilution-neutralization (EN 1656:2000) ผลการศึกษา พบเชื้อ C. neoformans ซีโรไทป์ A ในสิ่งขับถ่ายนกพิราบจำนวน 18 ตัวอย่างจากทั้งหมด 164 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.97) ซึ่งเขตลาดพร้าวมีอุบัติการณ์พบเชื้อสูงสุด โดยที่ปริมาณเชื้อ C. neoformans จากสิ่งขับถ่ายนกพิราบแบบแห้งมีปริมาณเชื้อมากกว่าสิ่งขับถ่ายนกพิราบแบบเปียกอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังสามารถแยกเชื้อได้ทั้งบริเวณภายในและภายนอกอาคาร ผลการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ พบว่า กลุ่มเชื้อ C. neoformans ผสมกับสิ่งขับถ่ายนกพิราบมีความทนต่อการถูกทำลายของน้ำฆ่าเชื้อทั้ง 3 ชนิดในแง่ของระดับความเข้มข้นและระยะเวลาสัมผัสสูงกว่ากลุ่มเชื้อบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มควอเทอนารีแอมโนเนียมมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการทำลายเชื้อ C. neoformans ที่ซึ่งมีความแตกต่างของชนิดโฮสต์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษานี้ เชื้อ C. neoformans ยังคงมีการแพร่กระจายในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มควอเทอนารีแอมโนเนียมที่ระดับความเข้มข้นอย่างน้อย 310 มิลลิกรัมต่อลิตรในระยะเวลา 1 นาที ซึ่งอยู่ในช่วงระดับแนะนำสำหรับนำไปใช้ลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
Other Abstract: Cryptococcus neoformans is an opportunistic yeast causing cryptococcosis, particularly in immunocompromised patients and animals. Due to worldwide distributing of C. neoformans, reduction of infectious risk is an importance in hygienic strategy. The objectives were to survey the yeast at 11 districts in Bangkok area during 2011-2012 and to determine disinfectant against C. neoformans mixed in pigeon (Columba livia) droppings and the pure isolates. All was isolated by selective media (caffeic acid agar) and confirmed by biochemical characteristics and an approved multiplex PCR. The efficacy of three disinfectants; quaternary ammonium compounds, sodium hypochlorite and potassium monopersulfate compounds was determined by dilution-neutralization method (EN 1656:2000). A total of 18 of 164 (10.97%) samples were positive to C. neoformans serotype A. There was the highest incidence area at Ladprao district in this study. The number of C. neoformans in dried droppings was significantly higher than that of wet condition and it could be found at both indoor and outdoor area. C. neoformans mixed in dropping was highly tolerate in term of dose and time exposure to all tested antiseptics rather than that of pure isolates. Quaternary ammonium compound was the most effective antiseptic against all tested C. neoformans from different host and environmental sources. In conclusion, C. neoformans still commonly distribute at certain area in Bangkok and use of at least 310 ppm of quaternary ammonium compounds for 1 minute is recommended for C. neoformans decontamination in environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43350
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.761
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.761
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475313631.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.