Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43387
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจิตเภทและใช้สารเสพติดในชุมชน เขตภาคกลาง
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO HEALTH RELATED QUALITY OF LIFE OF PERSONS WITH SCHIZOPHRENIA AND SUBSTANCE USE DISORDER IN COMMUNITY, CENTRAL REGION
Authors: กิ่งกาญจน์ ไชยบุศย์
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: s_thanasilp@hotmail.com
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท
คนติดยาเสพติด -- แง่จิตวิทยา
คุณภาพชีวิต
Schizophrenics
Drug addicts -- Psychological aspects
Quality of life
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ชนิดของสารเสพติด ปริมาณของกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน ปริมาณของบุหรี่ที่สูบต่อวัน อาการทางบวก อาการทางลบ การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว และ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมขณะเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคลินิกจิตเวชโรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลเสนา โรงพยาบาลท่าเรือ โรงพยาบาลสามโคก และแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 160 คน ได้จากการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูลการใช้สารเสพติด 3) แบบประเมินอาการทางบวก 4) แบบประเมินอาการทางลบ 5) แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว 6) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม 7) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา และ 8) แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเครื่องมือ 6 ชุดหลังมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96, .96, .90, .84, .86, และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สรุปผลการวิจัยที่สำคัญ ได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวม และ รายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านการทำหน้าที่ทางร่างกาย ด้านความเจ็บปวด ด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ด้านข้อจำกัดการทำบทบาทเนื่องจากปัญหาด้านร่างกาย ด้านข้อจำกัดการทำบทบาทเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิต ด้านภาวะสุขภาพจิต ด้านความมีชีวิตชีวา และ ด้านการรับรู้สุขภาพโดยทั่วไป อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 72.01, 85.63, 76.69, 75.19, 74.06, 72.60, 67.54, 65.96, และ 63.95 ตามลำดับ) 2. ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมซึ่งใช้สารเสพติดต่างชนิดกันมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=3.96) ปริมาณกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว และ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.19, .50, .45, และ .56 ตามลำดับ) อาการทางบวกและอาการทางลบ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.46 และ -.41 ตามลำดับ) ส่วน อายุ เพศ และปริมาณบุหรี่ที่สูบต่อวัน ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ
Other Abstract: The objectives of this research were to study 1) health related quality of life of patient with schizophrenia and substance use disorder in community, and 2) the relationship between selected factors including gender, age, type of substance, daily consumption of cigarettes and cup of coffee, negative and positive symptoms, social support, family relationship, and drug adherence with health related quality of life. A total of 160 persons with schizophrenia and substance use disorders, who sought treatment at outpatient department of Saraburi hospital, Sena Hospital, Tharuea hospital, Sam Khok hospital, and Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry, were recruited according to the inclusion criteria. The research instruments were demographic questionnaire, substance use questionnaire, positive and negative syndrome scale, social support questionnaire, family relationship questionnaire, drug adherence questionnaire and SF-36. All instruments were tested for content validity. The six latter instruments had Cronbach's alpha coefficient reliability as of .96, .96, .90, .84, .86, and .94, respectively. Statistic techniques utilized in data analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation, One-way Analysis of Variance (ANOVA) and Pearson's product moment correlation. Major finding of this study were as follows: 1. Persons with schizophrenia and substance use disorders had score on health related quality of life by overall as well as all subscales (physical functioning domain, bodily pain domain, social functioning domain, limitations in usual role activities due to physical health problems domain, limitations in usual role activities due to emotional problems domain, mental health domain, vitality domain, and general health perception domain) in the good level (mean= 72.01, 85.63, 76.69, 75.19, 74.06, 72.60, 67.54, 65.96, and 63.95 respectively). 2. Scores on health related quality of life of persons who used difference types of substance were significantly different (F=3.96, p .05). Daily consumption cup of coffee, social support, family relationship, and drug adherence were significantly and positively related to health related quality of life (r=.19, .50, .45, and .56, respectively; p .05). In addition, positive symptoms and negative symptoms were significantly and negatively related to health related quality of life (r =-.46, and -.41, respectively; p = .05). Age, gender and daily consumption of cigarettes were not significantly related to health related quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43387
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.853
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.853
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477302036.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.