Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43474
Title: การปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: ADJUSTMENT OF FIRST YEAR MEDICAL STUDENTS IN FACULTY OF MEDICINE, CHULALONGKORN UNIVERSITY.
Authors: ณัฐวุฒิ ศรีวัฒนาวานิช
Advisors: ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Nuttorn.P@chula.ac.th
Subjects: การปรับตัวทางสังคม
การปรับตัว (จิตวิทยา)
Social adjustment
Adjustment (Psychology)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 247 คน ที่ศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการปรับตัวในมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาใน การอธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร ได้แก่ ค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของการปรับตัวในมหาวิทยาลัยกับปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้สถิติ Pearson correlation, Spearman’s rho correlation, Independent samples t-test, One way ANOVA และ Simple and Multiple Regression Analysis. ผลการศึกษาพบว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีการปรับตัวในมหาวิทยาลัยโดยรวม การปรับตัวด้านการเรียน การปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ และการปรับตัวด้านสังคม ระดับปานกลางค่อนข้างดี และการปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและความมุ่งมั่นในเป้าหมายระดับดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำนายการปรับตัวในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัย โดยพบว่า ปัจจัยที่ทำนายการปรับตัวในมหาวิทยาลัยโดยรวม ได้แก่ การทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับมาก (p < 0.01) การทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง (p < 0.05) อายุ (p < 0.05) และผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (p < 0.05) ปัจจัยที่ทำนายการปรับตัวด้านการเรียน ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (p < 0.05) ปัจจัยที่ทำนายการปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ ได้แก่ อายุ (p < 0.05) ปัจจัยที่ทำนายการปรับตัวด้านสังคม ได้แก่ การทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับมาก (p < 0.01) การทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง (p < 0.01) และอายุ (p < 0.05) และปัจจัยที่ทำนายการปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและความมุ่งมั่นในเป้าหมาย ได้แก่ การทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับมาก (p < 0.01) และการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรขณะเรียนมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง (p < 0.05) ข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้อาจจะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจการปรับตัวในมหาวิทยาลัยและ การพัฒนาให้นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มีการปรับตัวในมหาวิทยาลัยที่ดี
Other Abstract: This descriptive study was the cross-sectional study aimed to study adjustment in university and associated factors of first year medical students in Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. Data were collected from 247 first-year undergraduate students who studied at Faculty of Medicine, Chulalongkorn University in the first semester of academic year 2013. The instruments were 1) Personal Data Questionnaire 2) The Student Adaptation to College Questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics: proportion, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistics used to examine the relationship between adjustment in university and personal factors were Pearson correlation, Spearman’s rho correlation, Independent samples t-test, One way ANOVA, and Simple and Multiple Regression Analysis. The study found that most of first year medical students had moderate to good level in overall adjustment, academic adjustment, personal and emotional adjustment and social adjustment and good level in institutional attachment and goal commitment adjustment. The personal factors that predicted adjustment in university were age, grade point average of high school (GPAX.) and participating in extracurricular activities. These found that high level of participating in extracurricular activities (p < 0.01), moderate level of participating in extracurricular activities (p < 0.05), age (p < 0.05) and GPAX. (p < 0.05) were the predictive factors of overall adjustment. GPAX. (p < 0.05) was the predictive factor of academic adjustment. Age (p < 0.05) was the predictive factor of personal and emotional adjustment. High level of participating in extracurricular activities (p < 0.01), moderate level of participating in extracurricular activities (p < 0.01) and age (p < 0.05) were the predictive factors of social adjustment. High level of participating in extracurricular activities (p < 0.01) and moderate level of participating in extracurricular activities (p < 0.05) were the predictive factors of institutional attachment and goal commitment adjustment. This study might help to understand and improve the adjustment in university of first year medical students.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43474
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.940
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.940
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574127130.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.