Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43646
Title: การพัฒนารูปแบบการผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศเพื่อเพิ่มพลังอดทนในนักกีฬาเทนนิส
Other Titles: A DEVELOPMENT OF COMBINED WEIGHT AND PNEUMATIC TRAINING MODEL TO ENHANCE POWER ENDURANCE IN TENNIS PLAYERS
Authors: สุทธิกร อาภานุกูล
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: c.intiraporn@yahoo.com
silpachai.s@chula.ac.th
Subjects: เทนนิส -- การฝึก
วิทยาศาสตร์การกีฬา
Tennis -- Training
Sports sciences
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศเพื่อเพิ่มพลังอดทนในนักกีฬาเทนนิส โดยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ได้ทำการศึกษาสัดส่วนของแรงต้านระหว่างการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศที่มีต่อพลังสูงสุด ซึ่งทดสอบโดยให้นักกีฬาเทนนิสชาย 15 คน ทำการยกท่าซูโม่ สคอวท 3 เซ็ตๆ ละ 6 ครั้ง ที่ความหนัก 30% ของน้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้ โดยมีรูปแบบสัดส่วนระหว่างแรงต้านด้วยน้ำหนัก กับแรงต้านจากแรงดันอากาศ 90 : 10, 80 : 20, 70 : 30, 60 : 40 และ 50 : 50 ในสัปดาห์ที่ 1 2 3 4 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งแต่ละสัปดาห์จะทดสอบ 1 รูปแบบแรงต้าน ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตัวแปรที่ได้จาก 5 รูปแบบแรงต้าน ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ โดยผลการทดลองพบว่า รูปแบบแรงต้านที่มีสัดส่วนระหว่างแรงต้านด้วยน้ำหนัก กับแรงต้านจากแรงดันอากาศ 90 : 10 สามารถทำให้เกิดพลังสูงสุดได้มากที่สุด ของทุกรูปแบบที่ใช้ในการทดสอบ ในขั้นตอนที่ 2 ได้ทำการศึกษา และเปรียบเทียบผลของการผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศ และการฝึกด้วยน้ำหนัก 8 สัปดาห์ ด้วยรูปแบบแรงต้านที่มีสัดส่วนแรงต้านด้วยน้ำหนัก กับแรงต้านจากแรงดันอากาศ 90 : 10 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทนนิส เพศชาย ระดับมหาวิทยาลัยซึ่งมีเกณฑ์อายุตั้งแต่ 18-25 ปี จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 คน ด้วยการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม โดยการจับฉลากเข้ากลุ่มให้เท่าๆ กัน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนัก + การฝึกปกติ กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศ + การฝึกปกติ และกลุ่มควบคุม ฝึกปกติ ทั้งกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 จะถูกฝึกท่าซูโม่ สควอท 2 ครั้งต่อสัปดาห์โดยใช้ระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ นอกจากนี้ในแต่ละครั้งที่ฝึกจะยกท่าซูโม่ สควอท 20 ครั้ง/เซ็ต จำนวน 3 เซ็ต มีการทดสอบทั้งหมด 3 ครั้งคือ ก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยทดสอบค่าพลังอดทน พลังสูงสุด ความสามารถในการเร่งความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยเปรียบเทียบผลการทดลองทุกรายการก่อน และหลังการฝึก ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีค่าพลังอดทน พลังสูงสุด ความและคล่องแคล่วว่องไว มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มที่ 3 ไม่พบความแตกต่างระหว่างก่อนการทดลอง และหลังการทดลองของทุกตัวแปร นอกจากนี้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างกลุ่มพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มที่ 2 มีค่าค่าพลังอดทน พลังสูงสุด และความคล่องแคล่วว่องไว มากกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนัก กับการฝีกด้วยแรงดันอากาศเป็นรูปแบบการฝึกที่ช่วยเพิ่มพลังอดทนในนักกีฬาเทนนิสได้ดี เนื่องจากรูปแบบการฝึกนี้สามารถพัฒนาทั้งพลังอดทน พลังสูงสุด และความคล่องแคล่วว่องไว ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบการฝึกด้วยน้ำหนักผสมผสาน กับการฝึกด้วยแรงดันอากาศนี้ยังช่วยทำให้สามารถเพิ่มพลังอดทนได้ดีกว่าการฝึกด้วยน้ำหนักอย่างเดียว
Other Abstract: The aim of this research was to develop the combined of weight and pneumatic training model to enhance the power endurance in tennis players. This study was divided into two stages. The first stage investigated the optimal proportion of weight and pneumatic resistances required to observe peak power. Fifteen male tennis players performed 3 sets of 6 repetitions of the sumo squat at 30% of 1RM. A counterbalance experimental design was used for various combinations between weight and pneumatic resistant trainings at 90:10(G1), 80:20(G2), 70:30(G3), 60:40(G4) and 50:50(G5) respectively. Each experiment was conducted once a week and the outcome was statistically analyzed by using mean, calculating standard deviation and taking one-way analysis of variance with repeated measures. Bonferroni’s method would be used to evaluate statistical significance setting at 0.5, if the differences were found. The results showed that the G1 proportions could provide greater peak power when compared with the G2 G3 G4 and G5 proportions. The second stage aimed to examine and compare the effect of combined weight and pneumatic training model to enhance power endurance in male tennis players which G1 proportion was added on the performance of the sumo squats. Thirty competitive male tennis players aged 18-25 years old were randomly assigned to traditional free weight training group (n = 10), combined weight and pneumatic training group (n = 10) and control group (n = 10). Three groups were trained 2 d•wk-1 for 8 weeks. Each training session required the subjects to perform twenty repetitions of sumo squats for three sets. Before and after 8 weeks of sumo squat training, subjects were tested for power endurance (PE), peak power (PP), Acceleration (AC) and Agility (A). Statistical analyses via analysis of variance revealed combined of weight and pneumatic training group was able to significantly (p < 0.05) improve PE, PP and A, respectively in eight weeks of training, while traditional free weight training group and control group was unable to improve any dependent variables. Subsequent analyses via analysis of variance revealed combined of weight and pneumatic training group showed significantly greater improvement over traditional free weight training group and control group in PE, PP and A (p < 0.05). These results showed that the combined of weight and pneumatic training was an effective method of increasing the performance of the tennis player with regard to power endurance, peak power and agility. Moreover, this benefit of the addition of pneumatic appears to provide greater the performance of the sumo squat training with barbell alone.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43646
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1110
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278960039.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.