Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44025
Title: กลุ่มอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: Symptom clusters in heart failure patients
Authors: ธิดารัตน์ เหลี่ยมไกร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
หัวใจวาย -- การพยาบาล
Heart failure -- Patients
Heart failure -- Nursing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการและกลุ่มอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์ (Theory of Unpleasant Symptoms : TOUS )ของ Lenz et al.(1997) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินการเกิดอาการ ความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมานเท่ากับ .86, .88, .90 และ.92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีประสบการณ์การรับรู้การเกิดอาการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ แน่นหน้าอก (ร้อยละ99.25) เหนื่อยเวลานอนราบ (ร้อยละ98.50) ปัสสาวะออกน้อย (ร้อยละ98.00) อ่อนเพลีย (ร้อยละ97.75) และปวดศีรษะ (ร้อยละ97.75) 2.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรับรู้อาการในมิติด้านความถี่ ของอาการทั้ง 40 รายการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.39-2.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.21-0.91 อาการที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่เหนื่อยเวลานอนราบ หน้ามืดวิงเวียน แน่นหน้าอก ปัสสาวะออกน้อย และอ่อนเพลีย ตามลำดับ 3.ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรับรู้อาการในมิติด้านความรุนแรงของอาการทั้ง 40 รายการมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.37-2.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.51-2.19 อาการที่มีความรุนแรงสูงสุด ได้แก่ เหนื่อยเวลานอนราบ ท้องโต ปวดศีรษะ ขาบวม/เท้าบวม เหนื่อยเวลาทำกิจกรรม ตามลำดับ 4. ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรับรู้อาการในมิติด้านความทุกข์ทรมานของอาการทั้ง 40 รายการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.33- 2.67และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.49-1.89 อาการที่มีความทุกข์ทรมานสูงสุด ได้แก่ ท้องโต เหนื่อยเวลานอนราบ ขาบวม/เท้าบวม ปวดศีรษะ เหนื่อยเวลาทำกิจกรรม ตามลำดับ 5. องค์ประกอบของกลุ่มอาการในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน กลุ่มอาการทางจิตใจ กลุ่มอาการหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง กลุ่มอาการระบบประสาทอัตโนมัติ และกลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to study multidimensional characteristics of symptom and symptom clusters in heart failure patients.Using sampling, 400 patients who diagnosed of heart failure symptoms, were recruited from tertiary hospitals in the southern region.The instrument was a set of questionnaires consisting of a demographic and multidimensional symptoms questionnaire. All questionnaires were develoed based on Theory of Unpleasant Symptoms (TOUS ) of Lenz et al.(1997) and were validateed by a panel of five experts. The Cronbach’s alpha coefficients of the instruments were .86, .88, .90 and .92 respectively. Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and factor analysis. The major fimdings were presented as follows: 1.Top five symptoms mostly experienced by heart failure patients 5 were : chest pain (99.25%), orthopnea (98.50%), olgoria (98.50%), fatique (97.75%) and headace (97.75%). 2.Top five symptoms mostly experienced by heart failure patients in term of frequency had an average score between 0.39 to 2.11 (SD = 0.21- 0.91) . They were orthopnea, syncope, chest pain, oliguria, and fatique. 3.Top five symptoms mostly experienced by heart failure patients in term of severity had an average score between 1.37 to 2.62 (SD = 0.51- 2.19 ) . They were orthopnea, abdominal distention, headace, leg swelling/ footsore and dysnea on exertion. 4.Top five symptoms mostly experienced by heart failure patients in term of distress had an average score between 1.33 to 2.67 (SD = 0.49 -1.89 ) . They were abdominal distention, orthopnea, leg swelling/ footsore, headace and dysnea on exertion. 5.Symptom clusters in heart failure patients could be categorized into 5 factors including acute volume overload, emotinal symptoms, chonic volume overload, autonomic nervous symptoms and gastrointestinal symptoms.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44025
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.398
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.398
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tidarat_la.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.