Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44505
Title: ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: FACTORS PREDICTING FATIGUE IN PATIENTS WITH HEART FAILURE
Authors: นงลักษณ์ กลิ่นพุดตาล
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Pachanut.T@Chula.ac.th
Subjects: ความล้า
หัวใจวาย
หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
Fatigue
Heart failure
Heart failure -- Patients
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนาย ระหว่างตัวแปร ระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว ระดับโพแทสเซียมในเลือด ระดับความดันหลอดเลือดแดงเฉลี่ย อาการหายใจลำบาก ระดับฮีโมโกลบิน อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการมีกิจกรรมทางกาย กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 154 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความสามารถในการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราคเท่ากับ .86, .93, .90, .92, และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 4.93, SD = 2.06) 2. อาการหายใจลำบาก อาการนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยล้าของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .732, .500 และ .391 ตามลำดับ) 3. ความสามารถในการมีกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยล้าของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .262) 4. ระดับโพแทสเซียมในเลือด ความดันหลอดเลือดแดงเฉลี่ย และระดับฮีโมโกลบินไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. อาการหายใจลำบาก ภาวะซึมเศร้า และระดับโพแทสเซียมในเลือดสามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ได้ร้อยละ 57.20 (R2 = .572) และสร้างสมการในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว = .689 (อาการหายใจลำบาก) + .136 (ภาวะซึมเศร้า) +.120 (ระดับโพแทสเซียมในเลือด)
Other Abstract: This research is a descriptive study to examine the relationships and the predictability of predicting factor; the severity of heart failure, potassium levels, mean arterial blood pressure, dyspnea, hemoglobin level, Insomnia, depression, physical activity and fatigue in patients with heart failure. One hundred and fifty-four patients adult out-patients with heart failure selected by purposive sampling technique from the inclusion criteria at Thammasat University Hospital and Police General Hospital. The instruments used to collect data were demographic data form, fatigue scale, dyspnea questionnaire, Insomnia Severity Index, depression questionnaire, and physical activity assessment. All questionnaires were tested for content validity by five panel of experts, and the reliabilities were .86, .93, .90, .92, and .86 The data were analyzed using Pearson's correlation coefficient and statistics. Stepwise multiple regression The results of the analysis are as follows: 1. Fatigue scores of patients with heart failure were at the medium level. (mean = 4.93, SD = 2.06). 2. There were positively statistical correlation between dyspnea, insomnia, depression and fatigue in patients with heart failure, at the level of .05. (r = .732, .500 and .391, respectively). 3. There were negatively statistical correlation between physical activity and fatigue in patients with heart failure, at the level of .05. (r = -.262). 4. There were no statistical correlation between potassium levels, mean arterial blood pressure, hemoglobin level and fatigue in patients with heart failure. 5. Dyspnea, depression, and potassium level were the variables that significantly predicted fatigue. The predictive power was 57.20 (R2 = .572) of the variance. The equation derived from standardize score was: fatigue in patients with chronic heart failure = .689 (dyspnea) + .136 (depression) + .120 (potassium level)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44505
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.525
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.525
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477221936.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.