Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44603
Title: ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังการผ่าตัดช่องท้อง
Other Titles: OUTCOMES OF PHARMACEUTICAL CARE IN PATIENTS WITH POSTOPERATIVE PAIN FROM ABDOMINAL SURGERY
Authors: จิราพร คำเเก้ว
Advisors: สิริพรรณ พัฒนาฤดี
ณัฏฐดา อารีเปี่ยม
ไพโรจน์ มิตรมโนชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Siripan.P@Chula.ac.th,Siripan.P@pharm.chula.ac.th
Nutthada.A@chula.ac.th
mitpairoj@yahoo.com
Subjects: ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม
ความเจ็บปวด
การบริบาลทางเภสัชกรรม
Postoperative pain
Pain
Pharmaceutical services
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการปวดภายหลังการผ่าตัดช่องท้องในด้านระดับความปวด ความสำเร็จจากการใช้ยาบรรเทาปวด และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ทำการเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องระหว่างเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน 2557 โดยได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มทดลอง) และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2556 ซึ่งไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มควบคุม) โดยได้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ผู้ป่วยในด้านการรักษาอาการปวด การประเมินความปวด ความรู้ด้านยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านยาที่อาจเกิดขึ้น และทำการประเมินระดับความปวดเมื่อครบเวลา 24, 48, 72 เเละ 96 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผลการวิจัย: ศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มละ 120 ราย มีข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์การผ่าตัด โรคประจำตัว บริเวณที่ทำการผ่าตัดและระดับความปวดครั้งแรกหลังการผ่าตัด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมทุกช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยกลุ่มควบคุมมีคะแนนความปวดเฉลี่ย&plusmn;ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของทุกช่วงเวลาที่ติดตามประเมินความปวด คือ 2.9&plusmn;0.1 คะแนน และกลุ่มทดลองมีคะแนนความปวด 2.3&plusmn;0.1 คะแนน นอกจากนี้ร้อยละของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองที่มีความสำเร็จจากการใช้ยาบรรเทาปวดเมื่อครบ 24 ชั่วโมง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 80.8 และ 50.8 ตามลำดับ, p<0.001) อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มคือ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องผูก ในด้านความพึงพอใจผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย&plusmn;ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.52&plusmn;0.64) สรุปผลการวิจัย: การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยมีเภสัชกรทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังการผ่าตัดช่องท้องสามารถควบคุมอาการปวดได้ดีขึ้น ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจและเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาสูงสุด
Other Abstract: Objectives: The research aimed to study the effects of pharmaceutical care for postoperative pain management in abdominal surgical patients in terms of pain intensity, the success rate of those achieved the goal of pain management, and patients&rsquo; satisfactions with pharmaceutical care. Methods: The quasi-experimental research comparing of abdominal surgical patients during march to june 2014 who had received the pharmaceutical care (intervention group) and those patients undergone surgery during january to march 2013 (control group) was performed in this study. The control group did not receive the pharmaceutical care and data were retrieved from medical records. The pharmaceutical care was to educate patients about pain management, pain assessment, analgesics and adverse effects. In addition, drug related problems were identified, resolved and prevented. Pain scores were monitored and averaged to represent the pain scores at 24, 48, 72 and 96 hours after surgery. Results: There were 120 patients in each group and demographic data were not significantly different, including gender, age, history of surgery, underlying diseases, sites of surgery, and pain level reported at the first time after surgery. The results stated that the intervention group had the pain level significantly less than control group (p<0.001). The average pain scores from the above indicated times of control group were 2.9&plusmn;0.1 (mean&plusmn;SD) and 2.3&plusmn;0.1 for intervention group. Moreover, most patients from the intervention group could reach the goal of pain management determined at 24 hours after surgery (80.8%), while achieved only 50.8% from control group (p<0.001). The most frequent adverse drug reactions found in this study were nausea, vomiting and constipation. In addition, patients&rsquo; satisfaction with pharmaceutical care was at the level of very satisfaction with the score of 4.52&plusmn;0.64 (mean&plusmn;SD). Conclusions: Providing the pharmaceutical care for postoperative pain management in abdominal surgical patients was a role of pharmacists in multidisciplinary team. The pharmaceutical care can be advantaged for achieving the goal of pain management and increasing the patients&rsquo; satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44603
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.752
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.752
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576204133.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.