Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44776
Title: การค้ากับเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนาก่อนการสถาปนาระบบเทศาภิบาล
Other Titles: Trade and ethnic networks in Lanna before the Thesaphiban
Authors: วราภรณ์ เรืองศรี
Advisors: ฉลอง สุนทราวาณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Chalong.S@Chula.ac.th
Subjects: เทศาภิบาล
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- ล้านนา
ไทย -- การค้า -- ประวัติ
Thailand -- Commerce -- History
Thailand -- History -- Lanna
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานศึกษาเรื่องนี้ช่วยคลี่คลายประเด็นคำถามเกี่ยวกับลักษณะความสัมพันธ์ของผู้คนในบริบทของรัฐจารีต ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของการกลายเป็นบ้าน เมืองและรัฐ กระทั่งถึงการอธิบายกระบวนการก่อรูปของรัฐดินแดนตอนในสมัยจารีต ผ่านความเคลื่อนไหวของ “ผู้คน” และ “สินค้า” ในตลาดและพื้นที่การค้าการแลกเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบ ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดูเหมือนไร้ระเบียบแบบแผน ทว่ากลับเป็นตัวแปรสำคัญในการอธิบายเงื่อนไขที่ทำให้ “คน” และ “ทรัพยากร” เคลื่อนเข้าหากัน รัฐจารีตซึ่งมีข้อจำกัดในการควบคุม “กำลังคน” และ “ส่วย” ล้วนตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่การค้าเหล่านี้ ดังจะพบว่าอำนาจรัฐที่เข้มแข็งกว่า พยายามเข้ายึดครองศูนย์กลางการค้าที่สามารถเชื่อมเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง หรือการพยายามสร้างบรรยากาศทางการค้าในกลุ่มเมืองที่มีความสำคัญ ทั้งแหล่งที่มา ประเภท ผู้ซื้อ และผู้ขายสินค้าที่ปรากฏตัวในพื้นที่ทางการค้า ล้วนสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างความหมาย และการรับรู้ลักษณะทางชาติพันธุ์ในเชิงเปรียบเทียบ และถูกนำเสนอผ่านเรื่องเล่า นิทาน ตำนานท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาพบว่า ความสำคัญของการค้าที่เด่นชัดที่สุดคือ เป็นการค้าที่สัมพันธ์กับชีวิตทุกด้านทั้งมิติทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง อย่างไรก็ตามภายใต้มิติความสัมพันธ์ที่ดูเรียบง่าย กลับพบว่าผู้คนในดินแดนแถบนี้ได้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลายระลอก ทั้งสงครามการแย่งชิงกำลังคนและทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การย้ายถิ่นฐาน และการสร้างตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการค้า ภายใต้ระบบความสัมพันธ์เชิงเครือญาติระหว่างบ้านเมือง ที่เคยเป็นมาตุภูมิกับถิ่นฐานที่เข้าไปตั้งรกรากใหม่ อีกทั้งในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 การขยายตัวของอาณานิคมในเขตภาคพื้นทวีป ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า การเข้ามาของสินค้าโรงงานภายใต้นโยบายการระบายสินค้าสู่ตลาดท้องถิ่นของอาณานิคม การใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเริ่มขยายตัว พร้อมกันกับการบุกเบิกพื้นที่การสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ และพื้นที่เกษตรกรรมออกไปอย่างกว้างขวาง ผลประโยชน์เรื่องการจัดการทรัพยากร นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำของล้านนา และระหว่างล้านนากับสยาม จนกระทั่งสยามปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ของรัฐประเทศราช ด้วยการผนวกล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ภายใต้การปกครองในระบบเทศาภิบาล พ.ศ. 2442
Other Abstract: To explain the nature of social relations within the context of the pre-modern state. It is also an explanation of the hinterland-state formation during pre-modern times. Such a formation of the state was related to the expansion of human settlements, from villages to towns, which was itself encouraged by trade activities. Although the various trade networks might seem very chaotic/random, they constituted the most crucial factor responsible for the concentration of both human and natural resources. The significance of trade networks was well observed by all traditional states, which had limited control over manpower and taxes in kind. The stronger ones, therefore, always tried to take control of important trade centers. Sources of commodities, as well as types of commodities, buyers, and sellers which appeared in these trade areas were all contributors in enforcing ethnic identities and the perception of such identities. Characteristics of various ethnic groups were repeatedly presented through local tales and myths. This study also finds that trade activities were part of every aspect of life. They could not be separated from social, cultural, economic and political activities. Nevertheless, the seemingly simple relations did not imply that the people in these areas were free from violent change and social turbulence. Wars over human and natural resources did occur several times, leading to resettlements, and reshuffling of trade networks between former homelands and new ones. Towards the end of the 19th century, colonial expansion also led to further expansion of economic activities, i.e. the importation of factory goods, the increasing importance of money and market economy, the search for timber and mine concessions, and the expansion of agricultural production. Such rapid changes became the source of conflicts over resource management. In other words, they gave rise to the situation in which the Lanna elites were locked in conflicts of interests among themselves. Finally the situation escalated into a conflict between Lanna and Siam, which ended in the annexation of the former by the latter. It also marked the end of Lanna as a tributary state, and the emergence of a modern state in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44776
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.92
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.92
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_Ru.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.