Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44888
Title: การนิยามมาตรวัดคุณภาพด้านการใช้งานของต้นแบบเกมเชิงกายภาพด้วยคุณลักษณะประจำของซอฟต์แวร์
Other Titles: Defining usability quality metric for physical game prototype using software attributes
Authors: อดิศักดิ์ ศรีสุริยสวัสดิ์
Advisors: นครทิพย์ พร้อมพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nakornthip.S@chula.ac.th
Subjects: ซอฟต์แวร์ -- การควบคุมคุณภาพ
เกมคอมพิวเตอร์
Computer software -- Quality control
Computer games
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาคุณภาพเกมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเกมซึ่งมีการแข่งขันสูง และการผลิตเกมไม่สามารถกำหนดความต้องการที่ชัดเจนได้ก่อนผลิตเหมือนกับการผลิตซอฟต์แวร์ทั่วไป ดังนั้นการกำหนดวิธีการวัดคุณภาพของการผลิตเกมจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าสามารถวัดคุณภาพได้ตั้งแต่ต้นทางของการผลิต ก็จะยิ่งทำให้การปรับปรุงแก้ไขเกมทำได้ง่าย และประหยัดต้นทุนกว่าการวัดคุณภาพในภายหลังที่ผลิตเกมเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานวิจัยนี้จึงทำการสร้างมาตรวัดสำหรับการวัดคุณภาพจากต้นแบบเกม โดยอ้างอิงมาตรวัดจากมาตรฐาน ISO 9126-3 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับวัดคุณภาพในการออกแบบซอฟต์แวร์ทั่วไป แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการวัดคุณภาพของต้นแบบเกม จากการอ้างอิงมาตรวัดจากมาตรฐาน ISO 9126-3 และนำมาประยุกต์ใช้พบว่า สามารถสร้างมาตรวัดคุณภาพสำหรับต้นแบบเกมโดยเฉพาะได้อย่างเหมาะสม แต่เนื่องจากความแตกต่างขององค์กร และลักษณะของเกมต่างก็มีความต้องการในส่วนของการวัดคุณภาพแตกต่างกันออกไป การจะนำมาตรวัดไปใช้ให้เหมาะสมได้นั้น ควรจะมีการกำหนดกระบวนการพัฒนาและประยุกต์ใช้มาตรวัดดังกล่าวควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และประสิทธิภาพจากการใช้มาตรวัดอย่างเต็มที่ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้สร้างเครื่องมือสนับสนุนการประยุกต์ใช้มาตรวัดที่นำเสนอด้วย
Other Abstract: Game Quality Development is considered to be a key vital part for Game Software Industry which is highly competitive and, unlike other software development, the full requirements of game software cannot always be completely defined upfront. Therefore, defining usability quality assurance metric is a must, especially in the early stage of the game software development which will result in easier bug and software improvement and better cost effectiveness than implementing quality assurance after the game has been fully developed. This study will explore the defining usability quality metric for Physical Game Prototype using software attributes by referring to ISO Standards 9126-3: Software Engineering - Product Quality, with the adaptation for the quality assurance and measurement during Game Prototyping period. After fully analyzing the ISO 9126-3 and reviewing its applications, it has been founded to be quite effective in defining the quality metric during the game prototyping period; however, due to the organization differences and the unique characteristics of the game, each will require different applications of the quality metric and measurements. In order to be fully utilized and optimized the effectiveness of the quality metric, it is best to define the development of the quality metric and its application simultaneously. In addition, a supporting tool was developed for the application of the porposed metric.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44888
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1673
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1673
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
adisak_sr.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.